Russian Federation

สหพันธรัฐรัสเซีย




     สหพันธรัฐรัสเซียหรืออดีตสหภาพโซเวียตเคยเป็นประเทศแกนนำของโลกคอมมิวนิสต์และในปัจจุบันยังมีแสนยานุภาพด้านนิวเคลียร์ เป็นประเทศที่มีดินแดนกว้างใหญ่มากที่สุดในโลกพื้นที่ ๒ ใน ๓อยู่ในทวีปเอเชีย แต่ประชากรร้อยละ ๗๕อาศัยอยู่ในทวีปยุโรป รัสเซียโดยพื้นฐานจึงถือเป็นชาติตะวันตก ความกว้างใหญ่ของดินแดนที่ครอบคลุม ๒ ทวีปดังกล่าวทำให้มีชนชาติต่าง ๆ มากมายกว่า ๑๖๐เชื้อชาติและชาติพันธุ์ที่อยู่กระจัดกระจายตามส่วนต่าง ๆ ของประเทศก็มีวัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่างกันมาก แต่ชาวรัสเซียส่วนใหญ่ในปัจจุบันสืบสายมาจากชนเผ่าสลาฟตะวันออก (Eastern Slav) ซึ่งตั้งถิ่นฐานในบริเวณตอนกลางของประเทศมาตั้งแต่ ๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช
     จากหลักฐานทางโบราณคดี เขตทางตอนใต้ของรัสเซียคือที่ราบสเต็ปป์(Steppe) เป็นดินแดนแห่งแรกที่พวกเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนจากทวีปเอเชียอพยพเข้ามาอยู่ในยุคหินใหม่ (New Stone Age หรือ Neolithic Age) เมื่อประมาณ ๔,๐๐๐-๕,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชโดยเข้ามาอยู่ในบริเวณแถบหุบเขาของแม่น้ำนีเปอร์(Dnieper) และแม่น้ำบัก (Bug) นอกจากรู้จักการเลี้ยงสัตว์แล้ว พวกเร่ร่อนดังกล่าวนี้ยังทำกสิกรรม ทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา ตลอดจนรู้จักทองแดง ทองคำ เงินและสัมฤทธิ์ ใน ๑,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชพวกซิมเมอเรียน (Cimmerian) ซึ่งเป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนจากทวีปเอเชียได้เข้ารุกรานชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในที่ราบสเต็ปป์และสามารถปกครองชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้ได้ พวกซิมเมอเรียนตั้งบ้านเรือนอยู่ทางตอนเหนือของทะเลดำและเป็นชนเผ่าแรกในรัสเซียที่รู้จักนำเหล็กมาใช้เป็นอาวุธแต่ใน ๗๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชชนเผ่าซิมเมอเรียนต้องสูญเสียอำนาจให้แก่พวกซิเทียน(Scythian) ที่อพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชียซึ่งมีความสามารถในการรบบนหลังม้าและถนัดในการใช้ธนู และดาบสั้น ในช่วงเวลาเดียวกัน ชาวกรีกก็อพยพมาตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรไครเมีย (Crimea) โดยจัดตั้งเมืองอาณานิคมและสถานีการค้าทางตอนเหนือของทะเลดำ ใน ๖๔๔ ปีก่อนคริสต์ศักราชพวกกรีกได้สร้างเมืองออลเบีย (Olbia) ที่ปากแม่น้ำบักเพื่อเป็นศูนย์กลางการค้ากับพวกซิเทียนและประชากรที่อยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำบัก การเปิดสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างชาวกรีกกับชาวซิเทียนดังกล่าวจึงนับเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้อารยธรรมของกรีกถูกถ่ายทอดและเข้าไปมีอิทธิพลในดินแดนรัสเซียในเวลาต่อมา
     ใน ๓๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชพวกซาร์เมเทียน (Sarmatian) ซึ่งเป็นพวกเร่ร่อนเชื้อสายอิหร่านและเป็นชนเผ่านักรบที่ชำนาญการใช้หอกและดาบยาวจากตอนกลางของทวีปเอเชียได้ยกกองทัพเข้ารุกรานพวกซิเทียน พวกซาร์เมเทียนมีอำนาจปกครองดินแดนภาคใต้ของรัสเซียเป็นเวลาหลายร้อยปีจนถึงประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๓ พวกซาร์เมเทียนเป็นพวกนิยมเลี้ยงฝูงสัตว์ เช่น วัวและม้า ชอบเดินทางเร่ร่อนและอาศัยอยู่บนเกวียน ในไม่ช้าพวกซาร์เมเทียนได้ยอมรับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของพวกซิเทียนและเริ่มติดต่อค้าขายกับชาวกรีกในเมืองอาณานิคมและสถานีการค้าต่าง ๆ ในดินแดนรัสเซีย พวกซาร์เมเทียนประกอบด้วยชนหลายเผ่าพันธุ์ เผ่าพันธุ์ที่สำคัญได้แก่พวกแอแลน (Alan) ซึ่งเป็นเชื้อสายพวกซาร์เมเทียนเผ่าสุดท้ายที่อพยพเข้ามาในรัสเซีย พวกแอแลนนี้ยังแยกออกเป็นพวกรุกส์-แอส(Rukhs-As) หรือพวกแอสผมสีอ่อน (fair-hair As) ซึ่งสันนิษฐานกันว่า คำว่า“รุกส์-แอส”ต่อมาได้เพี้ยนเสียงเป็น “รัสเซียน”(Russian) หรือ “รัสเซีย”(Russia)
     ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑อนารยชนเผ่ากอท (Goth) จากสแกนดิเนเวียได้เริ่มอพยพเข้ามาทางตอนใต้ของประเทศในแถบที่เรียกว่าที่ราบยูเรเชีย (Eurasia) โดยผ่านเข้ามาทางแม่น้ำวิสตูลา (Vistula) และจัดตั้งอาณาจักรเฮอร์มานิก (Hermanic)ขึ้น ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมตั้งแต่ทะเลดำจนถึงทะเลบอลติก แต่ใน ค.ศ. ๓๗๐อาณาจักรเฮอร์มานิกก็ถูกพวกฮั่น (Hun) ซึ่งเป็นชนเผ่ามองโกล (Mongol) จากภาคกลางของทวีปเอเชียเข้าโจมตีจนพวกกอทต้องอพยพหนีข้ามเขตเข้าไปในจักรวรรดิโรมัน พวกฮั่นมีอำนาจสูงสุดในยุโรปในสมัยของพระเจ้าอัตติลา (Attilaค.ศ. ๔๓๓-๔๕๓) ซึ่งกองทัพฮั่นได้เข้ารุกรานจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine) หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก (Eastern Roman Empire) และแคว้นกอล (Gaul) หรือบริเวณที่เป็นประเทศฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และเยอรมนี ปัจจุบันได้สำเร็จใน ค.ศ. ๔๔๗ และ ค.ศ. ๔๕๒ ตามลำดับ
     ต่อมาพวกเอวาร์ (Avar) เชื้อสายมองโกลและพวกเติร์ก (Turk) ซึ่งเป็นชาวเอเชียอีกกลุ่มหนึ่งได้เข้ารุกรานรัสเซียในกึ่งกลางของคริสต์ศตวรรษที่ ๖ พวกเอวาร์ได้สร้างอาณาจักรซึ่งครอบคลุมบริเวณตั้งแต่แม่น้ำวอลกา (Volga) จนถึงแม่น้ำเอลเบ (Elbe) และใน ค.ศ. ๕๘๑ สามารถใช้อำนาจบังคับให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ส่งเครื่องบรรณาการให้แก่ตนได้ อย่างไรก็ตาม ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๗ กองทัพของจักรวรรดิไบแซนไทน์สามารถเอาชนะพวกเอวาร์และมีผลให้อาณาจักรเอวาร์เสื่อมสลายลงในที่สุด ในคริสต์ศตวรรษที่ ๘พวกคาซาร์ (Khazar) เชื้อสายเติร์กได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนในบริเวณทางตอนเหนือของทะเลดำและทะเลสาบแคสเปียน(Caspian) พวกคาซาร์ทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางในการค้าขายระหว่างจักรวรรดิไบแซนไทน์กับอาณาจักรของพวกอาหรับ ยิ่งไปกว่านั้น ดินแดนของพวกคาซาร์ยังเป็นสื่อกลางในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ อิสลาม และยูดาห์ (Judaism) ในรัสเซียในไม่ช้าพวกคาซาร์ก็แผ่อำนาจเข้าปกครองดินแดนแถบแม่น้ำนีเปอร์ที่พวกสลาฟตะวันออกอาศัยอยู่และบังคับให้พวกสลาฟตะวันออกส่งเครื่องบรรณาการให้แก่ตน
     ในคริสต์ศตวรรษที่ ๙ พวกสลาฟตะวันออกได้รวมตัวกันอย่างแข็งขันและสามารถจัดตั้งเมืองขึ้นหลายแห่ง เช่น เคียฟ (Kiev) และนอฟโกรอด (Novgorod)ตลอดจนเมืองท่าตามชายฝั่งทางตอนเหนือของทะเลดำเพื่อติดต่อค้าขายกับจักรวรรดิไบแซนไทน์ แต่อาณาจักรของพวกสลาฟตะวันออกเจริญรุ่งเรืองในช่วงระยะเวลาอันสั้นเพราะถูกพวกวาแรนเจียน (Varangian) ซึ่งเป็นชนเผ่าไวกิงจากสแกนดิเนเวียเข้ารุกราน โดยมีรูิรค (Rurik) เป็นผู้นำ พวกวาแรนเจียนสามารถยึดครองเมืองต่าง ๆ ของพวกสลาฟตะวันออกได้ ใน ค.ศ. ๘๖๒ รูิรคได้สถาปนาราชวงศ์วาแรนเจียนขึ้นปกครองพวกสลาฟตะวันออกที่เมืองนอฟโกรอด ต่อมา ในค.ศ. ๘๘๒ โอเลก (Oleg)พระญาติและผู้สืบทอดราชบัลลังก์และเจ้าชายอีกอร์ (Igor)โอรสของโอเลก ราชวงศ์วาแรนเจียนก็สามารถขยายอาณาเขตและอิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวาง จนสามารถจัดตั้งอาณาจักรขึ้นเป็นปึกแผ่นเรียกว่าอาณาจักรเคียฟ(Kiev) เพื่อปกครองชนเผ่าสลาฟและชนเผ่าต่าง ๆ ในรัสเซียโดยมีกรุงเคียฟเป็นราชธานีและศูนย์กลางแห่งอำนาจอีกทั้งยังมีชัยชนะเหนือพวกกรีกจนเกือบยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) ได้ นอกจากนี้ ใน ค.ศ. ๙๘๘ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของเจ้าชายวลาดีมีร์ (Vladimir) ราชวงศ์วาแรนเจียนยังหันมานับถือคริสต์ศาสนานิกายกรีกออร์ทอดอกซ์แทนการนับถือเทพเจ้าและผี การนับถือคริสต์ศาสนาดังกล่าวนับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการรับอารยธรรมตะวันตกเข้ามาในรัสเซียอาณาจักรเคียฟจึงมีความมั่นคงและเป็นที่ยอมรับในอำนาจอธิปไตยจากอาณาจักรเพื่อนบ้านต่าง ๆ กรุงเคียฟที่เคยเป็นเพียงเมืองศูนย์กลางการค้าของพวกสลาฟแปรสภาพเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม และศาสนาในรัสเซีย อาณาจักรเคียฟมีอายุยึนยาวจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ ก่อนจะถูกพวกมองโกลจากทวีปเอเชียเข้ารุกราน
     กล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์อันแท้จริงของรัสเซียเริ่มต้นขึ้นเมื่อพวกสแกนดิเนเวียได้เข้าปกครองเมืองต่าง ๆ ของพวกสลาฟตะวันออก และนับตั้งแต่ค.ศ. ๘๘๒ เป็นต้นมา เชื้อสายของรูิรคได้ปกครองอาณาจักรเคียฟเป็นเวลาติดต่อกันกว่า ๓ศตวรรษ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้อาณาจักรเคียฟได้ขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวางจนมีพรมแดนจากทะเลดำจดทะเลบอลติกและจากทะเลแคสเปียนจรดเทือกเขาคาร์เพเทียน (Carpathian) เจ้าผู้ครองอาณาจักรเคียฟ (GrandPrince of Kiev) ซึ่งมีฐานะเป็นเสมือนประมุขของรัสเซียในขณะนั้นทรงเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูตและการค้ากับจักรวรรดิไบแซนไทน์และอาณาจักรอื่น ๆ ในเอเชียและยุโรปตะวันตก และทรงสร้างความเจริญให้แก่รัสเซียเป็นอันมาก กรุงเคียฟกลายเป็นนครที่มีรูปแบบของศิลปกรรมแบบกรีกที่จักรวรรดิไบแซนไทน์ได้รับถ่ายทอดมา เป็นศูนย์กลางของระบอบการปกครองแบบฟิวดัลในยุโรปตะวันออกและความเจริญทางด้านวัฒนธรรมและศูนย์กลางอีกแห่งของคริสต์ศาสนานิกายกรีกออร์ทอดอกซ์ พระประยูรญาติของเจ้าผู้ครองอาณาจักรเคียฟได้เสกสมรสกับสมาชิกในราชวงศ์ของดินแดนต่าง ๆ ในยุโรป เช่น จักรวรรดิไบแซนไทน์ สวีเดน ฝรั่งเศส ฮังการี นอร์เวย์ และโปแลนด์ อันมีผลทำให้อาณาจักรเคียฟมีความสัมพันธ์กับโลกตะวันตกมากยิ่งขึ้น
     อาณาจักรเคียฟมีความสำคัญและอิทธิพลสูงสุดในรัชสมัยของเจ้าชายยาโรสลาฟผู้ชาญฉลาด (Yaroslav the Wise ค.ศ. ๑๐๑๙-๑๐๕๔) ได้ทรงพัฒนาอาณาจักรเคียฟให้เจริญรุ่งเรืองในด้านต่าง ๆ เช่น ส่งเสริมให้กรุงเคียฟเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและเป็นคู่แข่งที่สำคัญของกรุงคอนสแตนติโนเปิลนครหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ เจ้าชายยาโรสลาฟทรงให้จัดตั้งโรงเรียนและห้องสมุดขึ้นในราชอาณาจักร อีกทั้งยังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม มีการสร้างมหาวิหารเซนต์โซเฟีย (Saint Sophia) ขึ้นใน ค.ศ. ๑๐๓๗ซึ่งเป็นปีที่เคียฟได้รับการจัดตั้งเป็นเขตอัครมุขมณฑล (Metropolitan See) โดยเลียนแบบมหาวิหารเซนต์โซเฟียที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลซึ่งเป็นศิลปะกรีก โดยมีอาคารรูปเหลี่ยมหลังคาโค้งเป็นรูปโดม แต่พวกสลาฟก็ได้ประดับประดาใหม่ให้มีสีสันงดงามเจิดจ้าอันเกิดจากจินตนาการของตนเอง มหาวิหารเซนต์โซเฟียดังกล่าวนี้จึงได้กลายเป็นแม่แบบของศิลปะรัสเซียในสมัยต่อมา ขณะเดียวกันก็มีการจัดทำประมวลกฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. ๑๐๓๖ เรียกว่าความยุติธรรมของรัสเซีย(Russian Justice)ด้วย
     อย่างไรก็ดีหลังจากที่เจ้าชายยาโรสลาฟสิ้นพระชนม์ บรรดาเจ้านครต่าง ๆพยายามแยกตัวเป็นอิสระจากอาณาจักรเคียฟ ทั้งพวกเร่ร่อนกลุ่มต่าง ๆ ก็เข้ารุกรานอาณาจักรเคียฟที่รุ่งเรืองจึงเริ่มเสื่อมลง ใน ค.ศ. ๑๑๖๙ เจ้าชายอันเดรย์ โบกอลยุบสกี(Andrei Bogolyubsky) แห่งรอสตอฟ-ซูซดัล (Rostov-Suzdal) เจ้าผู้ครองนครวลาดีมีร์ ซึ่งอยู่ห่างจากนครมอสโกไปทางตะวันออกประมาณ ๑๕๐ กิโลเมตรสามารถยึดกรุงเคียฟได้ และทรงประกาศให้นครวลาดีมีร์เป็นนครหลวงของรัสเซียแทนกรุงเคียฟ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ บรรดาเจ้านครต่าง ๆ ในรัสเซียต่างแตกแยกและแย่งชิงกันเป็นใหญ่ รัสเซียจึงกลายเป็นอาณาจักรที่อ่อนแอและไม่สามารถต่อต้านการรุกรานของพวกมองโกลซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนซึ่งอาศัยอยู่ในเขตทุ่งราบทางตอนเหนือของทวีปเอเชียได้ และต่อมาระหว่าง ค.ศ. ๑๒๓๗-๑๒๘๐ พวกมองโกลก็สามารถพิชิตดินแดนต่าง ๆ ของรัสเซียได้ทั้งหมด
     การรุกรานของพวกมองโกลทำให้รัสเซียถูกตัดขาดจากจักรวรรดิไบแซนไทน์และโลกตะวันตกโดยสิ้นเชิงเป็นเวลากว่า ๒ศตวรรษ รัสเซียต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวและมีวัฒนธรรมล้าหลังประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ทั้งในด้านสภาพเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ ชาวนาและขุนนางต่างยากจน ทาสติดที่ดินและชาวนาถูกบังคับให้ทำงานหนักเพื่อเลี้ยงดูกองทัพของมองโกล ส่วนขุนนางก็ขาดการเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมจนกลายเป็นผู้ไม่รู้หนังสือและขาดระเบียบวินัย อย่างไรก็ดี พวกมองโกลก็ไม่ได้ก้าวก่ายกับการดำเนินชีวิตของชาวรัสเซียตราบเท่าที่สภาพทางการเมืองและสังคมอยู่ในภาวะปรกติ ทั้งยังมีขันติธรรมทางศาสนาโดยอนุญาตให้ชาวรัสเซียนับถือและปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อในคริสต์ศาสนาได้เหมือนเดิมซึ่งทำให้รัสเซียสามารถรักษาวัฒนธรรมของตนเองไว้ได้ในระดับหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกัน ในช่วงเวลาที่พวกมองโกลปกครองกว่า ๒ ศตวรรษนั้น แม้รัสเซียต้องเผชิญกับความยากลำบากทางเศรษฐกิจและการถูกตัดขาดจากโลกตะวันตก แต่การปกครอง ที่รวมศูนย์อำนาจที่มีประสิทธิภาพของมองโกลก็ช่วยทำให้นครรัฐต่างๆ ในรัสเซียดำรงอยู่ต่อไปได้โดยไม่ทำศึกสงครามแย่งชิงอำนาจกันจนต้องประสบกับภาวะล่มสลาย ในทางตรงกันข้าม การปกครองของพวกมองโกลทำให้พวกนครรัฐต่าง ๆรวมตัวและสามัคคีกันในการต่อต้านอำนาจพวกมองโกล จนสามารถเป็นไทและพัฒนาเป็นรัฐที่เข้มแข็งได้ในที่สุด
     ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ เจ้าผู้ครองนครมอสโกได้รับสิทธิพิเศษจากข่านแห่งคาซานให้มีอำนาจในการพิพากษากรณีพิพาทระหว่างเจ้าผู้ครองนครรัสเซียต่าง ๆ ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นอำนาจและหน้าที่ของข่าน สิทธิดังกล่าวนี้กอปรกับอำนาจในการรวบรวมบรรณาการจึงทำให้นครมอสโกมีฐานะทางการเมืองและการเงินมั่นคงที่เจ้าผู้ครองนครรัฐอื่น ๆ ต่างเกรงขามและเข้าไปสวามิภักดิ์ด้วย เจ้าชายอีวานที่ ๑ หรืออีวาน (จอห์น) กาลิตา [(lvan (John) Kalita ค.ศ. ๑๓๒๕-๑๓๔๑] ได้รับการยอมรับจากพวกมองโกลเป็นอันมาก จนได้รับตำแหน่งใหม่ว่าเจ้าผู้ครองนครแห่งวลาดีมีร์และรัสทั้งปวง (Grand Prince of Vladimir and All Rus) ต่อมา ในรัชสมัยพระเจ้าอีวานที่ ๓ [Ivan III ค.ศ. ๑๔๖๒-๑๕๐๕ หรือซาร์อีวานมหาราช (Ivan theGreat)] หลังจากปราบปรามนครอื่น ๆ ได้สำเร็จ นครมอสโกได้ประกาศตนเป็นเอกราชจากมองโกลและรวมนครอื่น ๆ เข้ากับมอสโกจัดตั้งเป็นอาณาจักรมัสโควี(Muscovy) นครมอสโกก็ได้รับการสถาปนาเป็นเมืองหลวงใน ค.ศ. ๑๔๘๐อาณาจักรมัสโควีจึงเป็นเสมือนจักรวรรดิโรมันที่ ๓ (The Third Rome) เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของการปกครองและศาสนาของยุโรปตะวันออก โดยสืบทอดเจตนารมณ์ทางด้านการเมืองและศาสนาของจักรวรรดิไบแซนไทน์ (หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก) ซึ่งใน ค.ศ. ๑๔๕๓ ได้สูญเสียอำนาจแก่พวกออตโตมันเติร์ก(Ottoman Turks) พระเจ้าอีวานที่ ๓ จึงทรงเป็นผู้นำฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักรตามทฤษฎี “สันตะปาปาราชันย์” (Caesaropapism) อีกทั้งในบางโอกาสยังทรงใช้พระอิสริยยศนำหน้าพระนามว่า “ซาร์” (Tsar) ซึ่งเป็นคำย่อมาจากคำว่า “ซีซาร์”(Caesar) ที่นิยมเรียกจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันอีกด้วย นอกจากนี้ ก่อนที่จะสถาปนาอำนาจสูงสุดในฐานะ “ซาร์”พระองค์ยังทรงสร้างความชอบธรรมในฐานะ“พระญาติ” กับจักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์องค์สุดท้ายด้วยการอภิเษกสมรสกับโซเฟีย เพลีออโลกัส (Sophia Palaeologus) พระภาติยะ (หลานลุง) ในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ ๑๑ (Constantine XI ค.ศ. ๑๔๔๙-๑๔๕๓) ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ และมีการนำเอาตรานกอินทรีสองเศียรซึ่งเป็นตราแผ่นดินของจักรวรรดิไบแซนไทน์มาใช้เป็นเครื่องประกอบเครื่องราชกกุธภัณฑ์และสัญลักษณ์ของอาณาจักรมัสโควีด้วย นอกจากนี้ เพื่อให้สมพระเกียรติยศขององค์ประมุขของ “จักรวรรดิโรมันที่ ๓”มากยิ่งขึ้นจึงมีการขยายและสร้างพระราชวังเครมลิน (Kremlin) ให้ใหญ่โตโออ่า รวมทั้งสร้างมหาวิหารหลวงสำคัญ ๆ หลายแห่งเพื่อใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญและเป็นที่ฝังพระศพของซาร์และพระราชวงศ์ อย่างไรก็ตามอาณาจักรมัสโควีก็ยังไม่อาจรวมตัวเป็นปึกแผ่นอย่างมั่นคงได้ในสมัยซาร์อีวานที่ ๓ เพราะดินแดนหลายแห่ง รวมทั้งคาซาน (Kazan)อัสตราฮัน (Astrakhan) และดินแดนบริเวณรอบคาบสมุทรไครเมียยังคงตกอยู่ใต้อำนาจของพวกมองโกล แต่ต่อมาในรัชสมัยของซาร์วาซีีลที่ ๓ (Vasily III ค.ศ. ๑๕๐๕-๑๕๓๓) และซาร์อีวานที่ ๔[Ivan IV ค.ศ. ๑๕๓๓-๑๕๘๔ หรืออีวานผู้โหดเหี้ยม (Ivan the Terrible)]พระราชโอรสรัสเซียจึงสามารถผนวกดินแดนส่วนใหญ่ดังกล่าวนี้ได้
     ในรัชสมัยซาร์อีวานที่ ๔ พระองค์ทรงเป็นประมุของค์แรกของรัสเซียที่ได้รับคำประกาศพระอิสริยยศอย่างเป็นทางการว่า “ซาร์แห่งรัสทั้งปวง”(Tsar of AllRus) และโปรดใช้พระสหายสนิทที่เยาว์วัยและบุคคลที่มีความสามารถระดับต่าง ๆทางสังคมมาช่วยบริหารราชการ ใน ค.ศ. ๑๕๕๒ และ ค.ศ. ๑๕๕๖ ทรงประสบความสำเร็จในการกำจัดอำนาจของพวกมองโกลออกจากรัสเซีย และทำให้ลุ่มแม่น้ำวอลกาทั้งหมดรวมอยู่ในพรมแดนของรัสเซียตลอดจนขยายอำนาจเข้าปกครองไซบีเรียได้ใน ค.ศ. ๑๕๘๑ รัสเซียจึงสามารถสถาปนาขึ้นเป็นจักรวรรดิได้ ในช่วงครึ่งหลังของรัชกาล ซาร์อีวานที่ ๔ ทรงมีพฤติกรรมที่โหดร้ายจนได้รับสมญาว่า“ผู้เหี้ยมโหด” เพราะใครที่ขัดพระทัยจะถูกลงทัณฑ์ทันทีด้วยธารพระกรเหล็กที่ทรงถือติดพระหัตถ์ และแม้แต่พระราชโอรสก็ทรงถูกลงทัณฑ์ด้วยธารพระกรเหล็กจนบาดเจ็บและสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมา เมื่อนครนอฟโกรอดก่อกบฏต่อพระองค์ก็ทรงส่งกองทัพไปปราบปรามและสังหารชาวเมืองอย่างทารุณ รวมทั้งจับชนชั้นผู้นำและครอบครัวมาประหารอย่างเหี้ยมโหด ณ จตุรัสแดง อย่างไรก็ตาม แม้จะปกครองรัสเซียอย่างกดขี่ทารุณ แต่ก็ทรงสนพระทัยที่จะปรับปรุงรัสเซียให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศตะวันตกด้วยการพยายามขยายการค้ากับต่างประเทศมากขึ้นตามลัทธิพาณิชยนิยม (mercantilism) ที่เริ่มแพร่หลายในยุโรปขณะนั้นรวมทั้งพยายามเข้ายึดครองทะเลบอลติกเพื่อให้รัสเซียสามารถ “เปิดหน้าต่างแลยุโรป”(a window looking on Europe) ได้แต่ประสบความล้มเหลว นอกจากนี้รัสเซียก็สร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับอังกฤษด้วย
     หลังซาร์อีวานผู้เหี้ยมโหดเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. ๑๕๘๔ ราชบัลลังก์เป็นของซาร์เฟโอดอร์ที่ ๑ (Feodor I ค.ศ. ๑๕๘๔-๑๕๙๘)พระราชโอรสที่ทรงอ่อนแอและไร้ความสามารถ พระองค์ปกครองประเทศเพียงช่วงเวลาอันสั้นและสวรรคตโดยปราศจากองค์รัชทายาท อัครบิดรแห่งมอสโก (Patriarch of Moscow) จึงสนับสนุนสภาแผ่นดินหรือสภาเซมสกีโซบอร์ (Zemskii Sobor) และสภาโบยาร์(Boyars Council) หรือสภาขุนนางให้เลือกบอริส โกดูนอฟ (Boris Godunov)พระเชษฐาของซารีนาอีีรนา (Irina) พระมเหสีในซาร์เฟโอดอร์ที่ ๑ เป็นซาร์(ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. ๑๕๙๘-๑๖๐๕) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่รัสเซียเลือกซาร์ด้วยวิีธดังกล่าว การเถลิงอำนาจของซาร์บอริสใน ค.ศ. ๑๕๙๘ นับเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยแห่งความยุ่งยาก (Time of Troubles) ครั้งที่ ๑ ในประวัติศาสตร์รัสเซียเพราะมีผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์มากมายซึ่งรวมทั้งตระกูลโรมานอฟ (Romanov)ที่เป็นราชินิกุลในสายซารีนาอะนัสตาเซีย (Anastasia) พระราชมารดาของซาร์เฟโอดอร์ที่ ๑ด้วย
     ปัญหาการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของฝ่ายต่าง ๆ หลังจากซาร์บอริสโกดูนอฟสิ้นอำนาจทำให้ระหว่าง ค.ศ. ๑๖๐๕-๑๖๑๐ รัสเซียต้องเผชิญกับการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของดมีตรีตัวปลอม (False Dmitri) และความปั่นป่วนทางสังคมและการเมือง ทั้งยังเกิดสงครามกลางเมืองและการจลาจลวุ่นวายไปทั่วประเทศระหว่าง ค.ศ. ๑๖๑๐-๑๖๑๓ ประเทศยังตกอยู่ในภาวะขาดผู้นำหรือช่วงว่างระหว่างรัชกาล (interregnum) ด้วย ภาวะการขาดผู้นำซึ่งบ้านเมืองต้องเผชิญกับการรุกรานจากสวีเดน และโปแลนด์ และความไม่สงบภายในจึงทำให้สภาแผ่นดินซึ่งประกอบด้วยนักบวช ขุนนาง คหบดีพ่อค้า ชาวเมืองและชาวนาพร้อมใจกันเลือกซาร์พระองค์ใหม่ขึ้น และต่างตกลงเลือกไมเคิล โรมานอฟ (Michael Romanov)เป็นซาร์เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๖๑๓ โดยเฉลิมพระนามซาร์ไมเคิลและนับเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โรมานอฟ
     ในช่วง ๗๐ ปี แรก (ค.ศ. ๑๖๑๓-๑๖๘๒) ของการประดิษฐานราชวงศ์โรมานอฟรัสเซียได้เข้าสู่ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ระหว่าง “ยุคเก่า”กับ “ยุคใหม่”ความวุ่นวายภายในและสงครามในสมัยแห่งความยุ่งยากในระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ มีผลกระทบต่อทัศนคติและค่านิยมเก่า ๆ ของชาวรัสเซียเป็นอันมาก ชาวรัสเซียต้องยอมรับความเจริญก้าวหน้าทางด้านยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของยุโรปตะวันตก ในรัชสมัยซาร์ไมเคิล (ค.ศ. ๑๖๑๓-๑๖๔๕) ซาร์อะเล็กเซย์ (Alexei ค.ศ. ๑๖๔๕-๑๖๗๖) และซาร์เฟโอดอร์ที่ ๓ (Feodor III ค.ศ. ๑๖๗๖-๑๖๘๒) รัสเซียได้เข้าสู่ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ซาร์สามารถรวบอำนาจการปกครองไว้ได้ แต่ในขณะเดียวกันซาร์ก็ทรงสนพระทัยที่จะปรับปรุงประเทศให้เป็นแบบตะวันตกโดยดัดแปลงความเจริญของยุโรปตะวันตกให้เข้ากับสังคมรัสเซียอย่างค่อยเป็นค่อยไปเช่น ปรับปรุงยุทธวิธีการรบและอาวุธ และส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยต้อนรับพ่อค้าช่างฝีมือแขนงต่าง ๆ ที่ีล้ภัยทางการเมืองและศาสนาซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปศาสนาและสงครามศาสนาในประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในรัสเซีย ตลอดจนเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมประเพณีที่กดขี่สตรีตามความนิยมของตะวันออก อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงประเทศให้ก้าวหน้าก็ยังประสบความสำเร็จไม่มากนัก เพราะการยอมรับอิทธิพลตะวันตกเกิดขึ้นเฉพาะในพวกชนชั้นสูงที่เป็นคนกลุ่มน้อย ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงผูกพันกับความเชื่อและค่านิยมแบบเก่าในด้านสังคม รัสเซียก็ยังล้าหลังประเทศตะวันตกมาก เพราะมีการออกกฎหมายลิดรอนสิทธิเสรีภาพชาวนาและทาสติดที่ดิน รวมทั้งห้ามชาวเมืองเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย ระบบทาสติดที่ดินจึงขยายตัวกว้างและหยั่งรากลึกในสังคมจนเป็นอุปสรรคสำคัญในการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นอุตสาหกรรม และนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นและปัญหาทางสังคมและการเมืองซึ่งก่อให้เกิดการลุกฮือและการแย่งชิงอำนาจกันอย่างต่อเนื่อง
     อย่างไรก็ตาม การรับความเจริญของยุโรปตะวันตกเข้ามาในรัสเซียในสมัยต้นราชวงศ์โรมานอฟ นับว่ามีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์รัสเซียสมัยใหม่อย่างมาก เพราะเป็นการเริ่มต้นของการปฏิรูปจักรวรรดิรัสเซียให้พัฒนาขึ้นเป็นประเทศมหาอำนาจตะวันตก ซาร์ปีเตอร์ที่ ๑ มหาราช (Peter I the Great ค.ศ.๑๖๘๒-๑๗๒๕) และซารีนาแคเทอรีนที่ ๒ มหาราช (Catherine II the Great ค.ศ.๑๗๖๒-๑๗๙๖) ได้เป็นผู้สร้างฐานอำนาจให้รัสเซียในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ และทำให้รัสเซีย มีอารยธรรมแบบยุโรปตะวันตกอย่างสมบูรณ์
     ในรัชสมัยของซาร์ปีเตอร์ที่ ๑ นอกจากการสร้างรัสเซียให้เป็นรัฐทันสมัยตามแบบตะวันตกด้วยนโยบายการปฏิรูปด้านต่าง ๆ แล้ว นโยบายสำคัญของพระองค์คือ การขยายอำนาจทางทหารและทำให้รัสเซียซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเลในด้านตะวันตกให้มีเมืองท่าออกสู่ทะเลทั้งด้านทะเลบอลติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนรัสเซียจึงก่อสงครามกับจักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire) และสวีเดน เพื่อสร้างเมืองท่าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และบอลติกตามลำดับ อย่างไรก็ดี การขยายอำนาจทางตอนใต้เพื่อควบคุมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไม่ประสบความสำเร็จเพราะอังกฤษกับเนเธอร์แลนด์ ขัดขวางและรัสเซียพ่ายแพ้สงครามกับจักรวรรดิออตโตมัน รัสเซียจึงต้องยอมทำสนธิสัญญาสงบศึกกับออตโตมันใน ค.ศ. ๑๗๗๑และสูญเสียอำนาจการควบคุมเมืองอาซอฟ (Azov) ตากันรอก (Taganrog) และป้อมปราการต่าง ๆ บนแม่น้ำนีเปอร์ซึ่งทำให้ต้องปิด “หน้าต่างสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน”ส่วนในการทำสงครามกับสวีเดน ที่เรียกว่า “สงครามเหนือครั้งยิ่งใหญ่” (GreatNorthern War) ระหว่าง ค.ศ. ๑๗๐๙-๑๗๒๑ รัสเซียมีชัยชนะและได้ครองชายฝั่งทะเลบอลติกซึ่งทำให้สามารถควบคุมอ่าวฟินแลนด์ ได้ ชัยชนะในสงครามเหนือครั้งยิ่งใหญ่ได้ทำให้รัสเซียเป็นจักรวรรดิที่น่าเกรงขามที่มีส่วนคุมโชคชะตาของยุโรปในเวลาต่อมาซาร์ปีเตอร์ที่ ๑ จึงทรงได้รับสถาปนาเป็น “จักรพรรดิแห่งชาวรัสเซียทั้งปวง” (Emperor of all the Russians) ทั้งได้รับถวายพระราชสมัญญานาม“มหาราช”ด้วย พระองค์ได้ใช้ดินแดนต่าง ๆ บนชายฝั่งทะเลบอลติกติดต่อกับประเทศยุโรปและโปรดให้สร้างทัพเรือที่ทะเลบอลติกเพื่อป้องกันกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (St. Petersburg) นครหลวงใหม่ที่โปรดให้สร้างขึ้นใน ค.ศ. ๑๗๐๒กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กจึงเป็นสัญลักษณ์ของซาร์ปีเตอร์มหาราชในการสร้างรัสเซียให้เป็นชาติตะวันตกและเจริญทัดเทียมอารยประเทศตะวันตก ประมุของค์ต่อ ๆ มาก็สร้างและพัฒนาปรับปรุงกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กให้กลายเป็น “มหานคร”ที่งดงามแห่งหนึ่งของยุโรปจนได้ชื่อว่าเป็น “อัญมณีประดับยอดมหามงกุฎ”(topcrown jewelry) ของราชวงศ์โรมานอฟ นอกจากนี้ ซาร์ปีเตอร์ยังทรงคิดประดิษฐ์ธงชาติตามแบบอย่างชาติตะวันตกขึ้นด้วยโดยประกอบด้วยแถบสีขาวน้ำเงิน และแดงในแนวนอน ธงชาติสามสีได้ใช้กันสืบมาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๖๙๙ จนถึงปัจจุบันยกเว้นในช่วงระหว่าง ค.ศ. ๑๙๑๘-๑๙๙๑ เท่านั้นที่รัสเซียเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยม โดยช่วงเวลาดังกล่าวใช้ธงแดงที่มีรูปสัญลักษณ์ฆ้อนกับเคียวและดาวบริเวณมุมขวาของธงเป็นธงชาติ
     เมื่อซาร์ปีเตอร์มหาราชเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. ๑๗๒๕ โดยมิได้ทรงกำหนดองค์รัชทายาทตามที่ระบุไว้ในพระราชโองการ ค.ศ. ๑๗๒๒ (Decree of 1722)ที่ให้อำนาจแก่ซาร์ในการเลือกรัชทายาท รัสเซียได้เข้าสู่ “สมัยแห่งความยุ่งยากครั้งที่ ๒”หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า “ยุคปฏิวัติวังหลวง”(Era of Palace Revolutions)ซึ่งกินระยะเวลาทั้งสิ้น ๓๗ ปี (ค.ศ. ๑๗๒๕-๑๗๖๒) สิ้นสุดลงเมื่อซารีนาแคเทอรีนที่ ๒ มหาราชเสด็จขึ้นครองบัลลังก์ใน ค.ศ. ๑๗๖๒ ในช่วงเวลาดังกล่าว รัสเซียประสบกับความวุ่นวายทางการเมืองอันเนื่องจากการไร้เสถียรภาพในระบบการสืบสันตติวงศ์และการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างเจ้านายในราชวงศ์โรมานอฟซึ่งทำให้กลุ่มนายทหารองครักษ์กลายเป็นกลไกสำคัญในการเลือกองค์ประมุข ขณะเดียวกันพวกขุนนางตระกูลสำคัญ ๆ และข้าราชสำนักที่เป็นคนโปรดและชู้รักก็ผลัดกันเข้ามามีอำนาจในการบริหารปกครองประเทศและอยู่เบื้องหลังราชบัลลังก์ องค์ประมุขที่ผลัดกันขึ้นปกครองด้วยการสนับสนุนของกลุ่มขุนนางที่มีอำนาจมีจำนวนทั้งสิ้น ๖พระองค์ ประกอบด้วยซารีนาแคเทอรีนที่ ๑ (Catherine I ค.ศ. ๑๗๒๕-๑๗๒๗)ซาร์ปีเตอร์ที่ ๒ (Peter II ค.ศ. ๑๗๒๗-๑๗๓๐) ซารีนาแอนนา (Anna ค.ศ.๑๗๓๐-๑๗๔๐) ซาร์อีวานที่ ๖ (Ivan VI ค.ศ. ๑๗๔๐-๑๗๔๑) ซึ่งขึ้นครองราชย์ขณะมีพระชนมายุเพียง ๒ เดือนเท่านั้น โดยมีเจ้าหญิงแอนนา เลโอโปลดอฟนา(Anna Leopoldovna) พระราชมารดาเป็นผู้สำเร็จราชการ ซารีนาเอลิซาเบท(Elizabeth ค.ศ. ๑๗๔๑-๑๗๖๑) และซาร์ปีเตอร์ที่ ๓ (Peter III ค.ศ. ๑๗๖๑-๑๗๖๒)ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ รัชสมัยของซารีนาเอลิซาเบทซึ่งมีความมั่นคงและยาวนานที่สุดถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญระหว่างรัชสมัยซาร์ปีเตอร์มหาราชกับซารีนาแคเทอรีนที่ ๒ มหาราช ดังจะเห็นได้ว่าในรัชกาลที่ยาวนาน ๒๐ ปีนี้รัสเซียได้มุ่งกลับไปสนใจความเจริญของชาติยุโรปตะวันตกอย่างจริงจังอีกครั้ง และนำแนวคิดต่าง ๆ ทั้งในด้านศิลปวิทยาการ สังคมและวัฒนธรรมมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความเจริญให้แก่รัสเซีย ทั้งรัสเซียยังเข้าไปมีบทบาทสำคัญในสงครามเจ็ดปี (Seven Yearsû War ค.ศ. ๑๗๕๖-๑๗๖๓) โดยเข้าร่วมกับออสเตรีย และฝรั่งเศส ทำสงครามกับปรัสเซียและอังกฤษอีกด้วย
     สมัยแห่งความยุ่งยากครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลงใน ค.ศ. ๑๗๖๒ พร้อมกับการขึ้นครองราชสมบัติของซารีนาแคเทอรีนที่ ๒ มหาราช แม้การขึ้นครองราชย์ของพระนางจะเกิดขึ้นจากการก่อการปฏิวัติรัฐประหารและช่วงชิงอำนาจจากซาร์ปีเตอร์ที่ ๓ พระราชสวามี แต่รัชสมัยของพระองค์ก็เป็นช่วงที่รัสเซียเริ่มเข้าสู่ “ยุคทอง”เพราะต่อมารัสเซียได้กลายเป็นมหาอำนาจอันดับ ๑ ของยุโรปที่มีบทบาทสูงเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศอย่างแท้จริง ซารีนาแคเทอรีนที่ ๒ ทรงดำเนินนโยบายสร้างรัสเซียให้เป็นชาติตะวันตกและขยายพรมแดนตามแนวทางของซาร์ปีเตอร์มหาราชจนสามารถเปิด “หน้าต่างสู่ทะเล”ทางด้านทะเลดำและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้สำเร็จอีกทั้งยังครอบครองดินแดนถึง ๒ ใน ๓ ของโปแลนด์ ซึ่งเป็นศัตรูเก่าและทำให้โปแลนด์ ถูกยุบและหายไปจากแผนที่ของยุโรประหว่าง ค.ศ. ๑๗๙๕-๑๙๑๘นอกจากนี้ ซารีนาแคเทอรีนที่ ๒ ยังนำแนวความคิดของนักปรัชญาเมธีของยุโรปในยุคภูมิธรรม (Age of Enlightenment) มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิรูประบอบการปกครองและสังคมจนทำให้รัสเซียเจริญก้าวหน้าทัดเทียมมหาอำนาจยุโรปอื่น ๆพระองค์จึงได้รับสมัญญาว่า “กษัตริย์ภูมิธรรม” (Enlightened Despot) และได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็น “มหาราช” ซึ่งทรงเป็นราชนารีเพียงพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์รัสเซียที่ได้รับการถวายพระเกียรติสูงสุด
     ในรัชสมัยซาร์ปอล (Paul ค.ศ. ๑๗๙๖-๑๘๐๑) พระราชโอรส พระองค์ทรงออกพระราชโองการ ค.ศ. ๑๗๙๗ (Decree of 1797) ว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์โดยให้สิทธิเฉพาะแก่พระราชวงศ์ฝ่ายชายที่เป็นพระราชโอรสองค์โตและให้ตัดสิทธิของพระราชธิดาและเชื้อสายของพระราชธิดาทั้งหมด กฎหมายดังกล่าวทำให้รัสเซียมีระบบการสืบสันตติวงศ์ที่มั่นคงและทำให้ประเทศปลอดจากภาวะการช่วงชิงบัลลังก์ที่บั่นทอนเสถียรภาพของรัฐบาลจนถึงสมัยที่ราชวงศ์ิส้นอำนาจเพราะการปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution ค.ศ. ๑๙๑๗) ส่วนในด้านการต่างประเทศในระยะแรกซาร์ปอลทรงพยายามหลีกเลี่ยงการเข้ายุ่งเกี่ยวในสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary Wars ค.ศ. ๑๗๙๒-๑๘๐๒) แต่ระหว่าง ค.ศ. ๑๗๙๘-๑๗๙๙ก็เข้าเป็นพันธมิตรกับอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ ต่อต้านฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม เมื่อนายพลนโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonarparte)ยึดอำนาจการปกครองในฝรั่งเศส ได้และปกครองในระบบกงสุล (Consulate System) ซาร์ปอลซึ่งทรงชื่นชมนโปเลียนอย่างมากในฐานะนายทหารในอุดมคติจึงทรงหันมาฟื้นสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส และต่อต้านอังกฤษแทน ต่อมาใน ค.ศ. ๑๘๐๑พระองค์ทรงถูกลอบปลงพระชนม์ และแกรนด์ดุ็กอะเล็กซานเดอร์พระราชโอรสองค์โตก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็นซาร์องค์ใหม่ตามที่กำหนดไว้ในพระราชโองการ ค.ศ. ๑๗๙๗ เฉลิมพระนามเป็นซาร์อะเล็กซานเดอร์ที่ ๑ (Alexander I ค.ศ. ๑๘๐๑-๑๘๒๕)
     เมื่อซาร์อะเล็กซานเดอร์ที่ ๑ เสด็จขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. ๑๘๐๑ รัสเซียกำลังเผชิญกับการขยายอำนาจของฝรั่งเศส และต้องรบกับฝรั่งเศส ในสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars ค.ศ. ๑๘๐๔-๑๘๑๕) แต่ก็ไม่อาจต่อต้านอิทธิพลของฝรั่งเศส ได้จนต้องยอมทำสนธิสัญญาสันติภาพแห่งทิลซิท (Treaty of Tilsit) เพื่อให้ความร่วมมือและเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส ใน ค.ศ. ๑๘๐๗ อย่างไรก็ตาม เมื่อรัสเซียถอนตัวจากการปฏิบัติตามระบบภาคพื้นทวีป (Continental System) ของฝรั่งเศส ในการต่อต้านอังกฤษ จักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ จึงยกกำลังบุกโจมตีนครมอสโกใน ค.ศ. ๑๘๑๒ แต่ประสบความล้มเหลว ต่อมากองทัพมหาอำนาจยุโรปได้รวมตัวกันทำสงครามสหพันธมิตรครั้งที่ ๔ (Fourth Coalition War) โดยมีรัสเซียเป็นแกนนำยาตราทัพเข้ากรุงปารีส จักรพรรดินโปเลียนจำต้องยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไขในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๘๑๔ ชัยชนะครั้งนี้ทำให้รัสเซียได้รับการยกย่องและยอมรับเป็นประเทศมหาอำนาจของยุโรป ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา(Congress of Vienna ค.ศ. ๑๘๑๔-๑๘๑๕) รัสเซียก็มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้นำกลุ่มอนุรักษนิยมที่ต่อต้านแนวความคิดเสรีนิยมและชาตินิยมเพื่อพยายามรักษาสถานะเดิมของยุโรปก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๗๘๙ (French Revolutionof 1789) ไว้ รัสเซียให้การสนับสนุนแนวนโยบายของเจ้าชายเคลเมนส์ ฟอนเมทเทอร์นิช (Klemens Fürst von Metternich) เสนาบดีว่าการกระทรวงต่างประเทศออสเตรีย (ต่อมาดำรงตำแหน่งอัครเสนาบดี) ในการปราบปรามพวกเสรีนิยมในประเทศต่างๆ ขณะเดียวกันก็เพิกเฉยที่จะปฏิรูปการเมืองและสังคมรัสเซียตามข้อเรียกร้องของปัญญาชน ทั้งมุ่งขยายอำนาจและสร้างความยิ่งใหญ่ของรัสเซียในต่างแดนโดยเฉพาะในจักรวรรดิออตโตมัน ความพยายามของรัสเซียในการเข้ายึดครองคาบสมุทรบอลข่านจึงนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองกับมหาอำนาจยุโรปอื่น ๆ ในปัญหาตะวันออก (Eastern Question) ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐
     ปัญหาการสืบราชสันตติวงศ์หลังซาร์อะเล็กซานเดอร์ที่ ๑ สวรรคตในเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๘๒๕ ได้นำไปสู่การเกิดกบฏเรียกร้องรัฐธรรมนูญหรือที่เรียกกันต่อมาว่ากบฏเดือนธันวาคม (Decembrist Revolt) กบฏที่เกิดขึ้นมีจุดมุ่งหมายหลักที่จะล้มเลิกระบบทาสติดที่ดินและการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัย แต่ประสบความล้มเหลว ผลกระทบที่สำคัญของกบฏเดือนธันวาคมคือ ซาร์นิโคลัสที่ ๑(Nicholas I ค.ศ. ๑๘๒๕-๑๘๕๕) ทรงพยายามทุกวิถีทางที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการจลาจลและการกบฏขึ้นในรัสเซียได้อีก พระองค์ทรงจัดตั้งกองตำรวจลับสอดส่องและควบคุมประชาชน และต่อต้านการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงสังคมทุกประการ รวมทั้งสร้างรัสเซียให้เป็นรัฐวินัยเพื่อบังคับประชาชนให้ปฏิบัติตามระเบียบและเชื่อมั่นในผู้มีอำนาจสูงกว่า ขณะเดียวกันรัสเซียก็ร่วมมือกับออสเตรีย และปรัสเซียในการเข้าแทรกแซงเพื่อปราบปรามการกบฏและการปฏิวัติในประเทศต่าง ๆ ในยุโรปในปลายรัชสมัยของนิโคลัสที่ ๑ รัสเซียได้ก่อสงครามกับตุรกีหรือสงครามไครเมีย(Crimean War ค.ศ. ๑๘๕๓-๑๘๕๖) ซึ่งเป็นสงครามใหญ่ครั้งแรกระหว่างประเทศมหาอำนาจยุโรปหลังจากว่างเว้นการสงครามมาเป็นเวลาเกือบ ๔๐ปี รัสเซียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และต้องหมดบทบาทในเวทีการเมืองระหว่างประเทศไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง
     ในช่วงที่ซาร์นิโคลัสที่ ๑ ทรงมุ่งขยายอำนาจของรัสเซียในต่างประเทศและควบคุมทางสังคมอย่างเข้มงวดนั้น กลุ่มปัญญาชนก็เริ่มรวมกลุ่มกันเคลื่อนไหวต่อต้านอำนาจรัฐและระบบซาร์มากขึ้นโดยแบ่งเป็น ๒ กลุ่มใหญ่คือกลุ่มสลาฟนิยม(Slavophiles) กับกลุ่มตะวันตกนิยม (Westernizers) ปัญญาชนทั้ง ๒ กลุ่มต่างเรียกร้องการปฏิรูปสังคมเพื่อปลดปล่อยทาสติดที่ดินให้เป็นอิสระและการทอนอำนาจอัตตาธิปไตยของซาร์ รวมทั้งการมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดเห็น แม้การเคลื่อนไหวดังกล่าวจะประสบความสำเร็จไม่มากนัก แต่แนวความคิดของปัญญาชนทั้ง ๒ กลุ่มก็มีอิทธิพลต่อขบวนการปฏิวัติรัสเซียที่ก่อตัวขึ้นในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ อะเล็กซานเดอร์ เฮอร์เซน (Alexander Herzen)นักคิดคนสำคัญของกลุ่มตะวันตกนิยมได้ปรับแนวความคิดของพวกสลาฟนิยมเข้ากับแนวทางการปฏิวัติเป็นแนวความคิดสังคมนิยมรัสเซียที่เรียกกันว่า นารอดนิค(Narodnik) หรือรัสเซียปอปปูลิสต์ (Russian Populism) ต่อมา ีนโคไลเชียร์นีเชฟสกี (Nikolai Chernyshevsky) มีฮาอิล บาคูนิน (Mikhail Bakunin)และปัญญาชนปฏิวัติคนอื่น ๆ ก็นำแนวความคิดสังคมนิยมของเฮอร์เซนไปเผยแพร่และพัฒนาต่อจนกลายเป็นแนวความคิดที่ยอมรับกันทั่วไปในหมู่ปัญญาชนรัสเซียที่ฝักใฝ่ในการปฏิวัติในช่วงทศวรรษ ๑๘๖๐-๑๘๗๐
     ความพ่ายแพ้ในสงครามไครเมีย ค.ศ. ๑๘๕๖ ทำให้รัสเซียหันมาพัฒนาปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยทัดเทียมประเทศตะวันตก ซาร์อะเล็กซานเดอร์ที่ ๒(Alexander II ค.ศ. ๑๘๕๕-๑๘๘๑) ซึ่งเสด็จขึ้นครองราชสมบัติก่อนสงครามไครเมียสิ้นสุดลง จึงทรงเริ่มปฏิรูปสังคมด้วยการออกพระราชกฤษฎีกาปลดปล่อยทาสติดที่ดิน (Edict of Emanicipation of Serfs) ใน ค.ศ. ๑๘๖๑ และทรงปฏิรูปทางด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศาล กองทัพ การคลังและอื่น ๆ ซึ่งทำให้รัชสมัยของพระองค์ได้ชื่อว่า “ยุคแห่งเสรีนิยม”อย่างไรก็ตาม ผลการปฏิรูปก็เป็นไปเพื่อรักษาอำนาจอัตตาธิปไตยให้มั่นคงเพราะสถาบันซาร์ยังคงมีอำนาจเด็ดขาด ีชิวตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปยังคงยากจนแร้นแค้นและขุนนางเจ้าของที่ดินก็ยังครอบครองที่ดินส่วนใหญ่ของประเทศทั้งมีชีวิตที่สุขสบาย นอกจากนี้ รัสเซียยังคงล้าหลังด้านเกษตรกรรมเพราะชาวนาขาดความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยี และไม่มีทุนทรัพย์ที่จะปรับปรุงผืนดินและวิีธการผลิตให้ดีขึ้น ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ รัสเซียยังถูกคุกคามด้วยทุพภิกขภัยอย่างต่อเนื่อง จำนวนผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยก็ไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี รัฐบาลยังเก็บภาษีชาวนาอย่างหนักทั้งขึ้นภาษีสุราซึ่งเป็นที่นิยมของประชาชนในอัตราที่สูง ความไม่พอใจของประชาชนจึงเกิดขึ้นทั่วไป กลุ่มปัญญาชนที่ต่อต้านรัฐบาลและซาร์จึงเคลื่อนไหวปลุกระดมทางการเมืองทุกรูปแบบเพื่อผลักดันการปฏิวัติให้เกิดขึ้น และในท้ายที่สุดก็หันมาใช้วิธีการรุนแรงและการก่อการร้ายมีการลอบสังหารบุคคลสำคัญในแวดวงรัฐบาลและลอบปลงพระชนม์ซาร์หลายครั้งจนสามารถปลงพระชนม์ซาร์อะเล็กซานเดอร์ที่ ๒ ได้สำเร็จเมื่อวันที่๑ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๘๑
     การสวรรคตอย่างน่าอเน็จอนาจของพระราชบิดาทำให้ซาร์อะเล็กซานเดอร์ที่ ๓ (Alexander III ค.ศ. ๑๘๘๑-๑๘๙๔) ทรงดำเนินนโยบายที่เข้มงวดในการปกครองและยกเลิกการปฏิรูปต่าง ๆ ตลอดจนนำแนวความคิดการสร้างรัสเซียให้เป็นรัฐวินัยกลับมาใช้ีอกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ ยังมีการออกกฎเฉพาะกาลเกี่ยวกับมาตรการความมั่นคงของรัฐ ให้อำนาจรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นในการปราบปรามการลุกฮือของประชาชนและการรักษาความสงบ กฎเฉพาะกาลทำให้การเคลื่อนไหวปฏิวัติหยุดนิ่งและนักปฏิวัติจำนวนหนึ่งหนีออกนอกประเทศ กลุ่มนักปฏิวัติเหล่านี้ซึ่งมีเกออร์กีเปลฮานอฟ (Georgi Plekhanov) เป็นผู้นำได้หันไปรับแนวความคิดลัทธิมากซ์ (Marxism) ซึ่งมีอิทธิพลต่อขบวนการสังคมนิยมยุโรปในขณะนั้นและนำกลับมาเผยแพร่ในประเทศ ลัทธิมากซ์จึงเริ่มมีบทบาทสำคัญขึ้นในขบวนการปฏิวัติรัสเซีย และการเคลื่อนไหวจัดตั้งพรรคปฏิวัติแนวทางลัทธิมากซ์ก็ขยายตัวและเติบโตขึ้นในรัสเซียจนสามารถจัดตั้งพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (Russian Social Democratic Workersû Party - RSDLP) หรือที่เรียกกันทั่วไปในเวลาต่อมาว่าพรรคบอลเชวิค (Bolsheviks) ขึ้นได้สำเร็จในต้นทศวรรษ ๑๙๐๐
     ในด้านการต่างประเทศ รัสเซียสนับสนุนแนวนโยบายของเจ้าชายออทโทฟอน บิสมาร์ค (Otto von Bismarck) อัครมหาเสนาบดีแห่งจักรวรรดิเยอรมัน(German Empire)ด้วยการร่วมลงนามในสันนิบาตสามจักรพรรดิ(Dreikaiserbund -League of the Three Emperors) กับจักรวรรดิเยอรมันและจักรวรรดิออสเตรีย -ฮังการี (Austro-Hungarian Empire) เพื่อกีดกันให้ฝรั่งเศส อยู่อย่างโดดเดี่ยวและป้องกันไม่ให้แสวงหาพันธมิตรเพื่อแก้แค้นเยอรมนี ในการทำลายเกียรติภูมิของชาติในสงครามฝรั่งเศส -ปรัสเซีย (Franco-Prussian War ค.ศ. ๑๘๗๐-๑๘๗๑)ความร่วมมือระหว่างมหาอำนาจทั้งสามในรูปของสันนิบาตสามจักรพรรดิเกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. ๑๘๗๓-๑๘๗๘ และ ค.ศ. ๑๘๘๑-๑๘๘๗ หลัง ค.ศ. ๑๘๘๗ รัสเซียขัดแย้งกับออสเตรีย -ฮังการี ในปัญหาตะวันออกจึงไม่ต่ออายุสัญญา แต่กระนั้นรัสเซียก็ร่วมมือกับเยอรมนี ทำสนธิสัญญาลับคือสนธิสัญญาประกันพันธไมตรี(Reinsurance Treaty) ใน ค.ศ. ๑๘๘๗ แต่ต่อมาเมื่อรัสเซียทราบว่าเยอรมนี ทำสนธิสัญญาพันธไมตรีทวิภาค ค.ศ. ๑๘๗๙ (Dual Alliance 1879) กับออสเตรีย -ฮังการี โดยเยอรมนี จะไม่รักษาความเป็นกลางในกรณีที่รัสเซียก่อสงครามกับออสเตรีย -ฮังการี รัสเซียจึงผูกไมตรีกับฝรั่งเศส และร่วมกันทำสนธิสัญญาพันธไมตรีทวิภาคีค.ศ. ๑๘๙๔ (Dual Alliance 1894) เพื่อคานอำนาจเยอรมนี และออสเตรีย -ฮังการี และเพื่อตอบโต้การรวมตัวระหว่างเยอรมนี ออสเตรีย -ฮังการี กับอิตาลี ในสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรภาคี (Triple Alliance ค.ศ. ๑๘๘๒) ต่อมาอังกฤษก็ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับรัสเซียและฝรั่งเศส ซึ่งทำให้เกิดการขยายตัวของภาคีสมาชิกสนธิสัญญาพันธไมตรีทวิภาคี ค.ศ. ๑๘๙๔ เป็นกลุ่มประเทศความตกลงไตรภาคี (TripleEntente) ขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๐๗ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มหาอำนาจยุโรปจึงแบ่งออกเป็น ๒ ค่าย
     เมื่อซาร์นิโคลัสที่ ๒ (Nicholas II ค.ศ. ๑๘๙๔-๑๙๑๗) เสด็จขึ้นครองบัลลังก์ใน ค.ศ. ๑๘๙๔พระองค์ทรงดำเนินนโยบายต่าง ๆ ตามรอยซาร์อะเล็กซานเดอร์ที่ ๓พระบิดาด้วยการปกครองประเทศอย่างเข้มงวด และปกป้องรักษาอำนาจอธิปไตยของซาร์รวมทั้งปราบปรามการเคลื่อนไหวของประชาชนอย่างเด็ดขาด นโยบายดังกล่าวก่อให้เกิดการต่อต้านพระองค์อย่างมาก และยิ่งเมื่อรัสเซียพ่ายแพ้ในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (Russo-Japanese War ค.ศ. ๑๙๐๔-๑๙๐๕) ความไม่พอใจของประชาชนก็ยิ่งขยายตัวในวงกว้าง กลุ่มปัญญาชนเสรีนิยมหัวก้าวหน้าที่มีปาเวลนีโคลาเยวิช มิลยูคอฟ (Pavel Nikolayevich Milyukov) เป็นผู้นำก็ร่วมมือกับกลุ่มการเมืองอื่น ๆ เรียกร้องการปฏิรูปทางสังคมและการเมือง กลุ่มการเมืองฝ่ายซ้ายก็เคลื่อนไหวปลุกระดมการต่อต้านรัฐบาลมากขึ้น ในต้นเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๙๐๕มีการชุมนุมนัดหยุดงานทั่วไปและมีการเดินขบวนอย่างสันติในกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเพื่อถวายฎีกาต่อซาร์นิโคลัสที่ ๒ ให้ทรงปฏิรูปการเมืองและสังคมแต่ล้มเหลวทหารระดมยิงใส่กลุ่มผู้เดินขบวนจนนำไปสู่เหตุการณ์ที่เรียกว่าวันอาทิตย์นองเลือด(Bloody Sunday) บาทหลวงเกออร์กี กาปอน (Georgi Gapon) ผู้นำการเดินขบวนประกาศว่าไม่มีซาร์อีกต่อไป การจลาจลและการต่อต้านรัฐบาลได้ขยายตัวไปทั่วประเทศจนเกิดการปฏิวัติค.ศ. ๑๙๐๕ (Revolution of 1905) ในเดือนตุลาคมการปฏิวัติที่เกิดขึ้นทำให้แกนนำนักปฏิวัติที่ีล้ภัยนอกประเทศเป็นต้นว่าวลาดีมีร์อิลยิช เลนิน (Vladimir Illyich Lenin)ยูีล มาร์ตอฟ (Yuly Martov) และเลออนตรอตสกี(Leon Trotsky) เดินทางกลับมาเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศ อย่างไรก็ตาม ซาร์นิโคลัสที่ ๒ ทรงหาทางควบคุมสถานการณ์ทางสังคมและการเมืองตามคำทูลแนะนำของเคานต์เซียร์เกย์ยูลเยวิช วิตเต (Sergey Yulyevich Witte) เสนาบดีด้วยการประกาศ “คำแถลงนโยบายเดือนตุลาคม” (October Manifesto) เมื่อวันที่๑๗ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๐๕ โดยสัญญาจะให้มีการเลือกตั้งและให้จัดตั้งสภาดูมา(Duma) ขึ้นเพื่อปกครองในระบอบประชาธิปไตย นับเป็นการเริ่มต้นสมัยการปกครองแบบประชาธิปไตยของจักรวรรดิรัสเซียระหว่าง ค.ศ. ๑๙๐๖-๑๙๑๗ และทำให้การเคลื่อนไหวปฏิวัติหมดบทบาทและอิทธิพลทางการเมือง
     อย่างไรก็ตาม การเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ (First World War) ในค.ศ. ๑๙๑๔ และปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในที่สืบเนื่องจากนักบวชเกรกอรีรัสปู ติน (Gregory Rasputin) ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของซารีนาอะเล็กซานดราเฟโอดรอฟนา (Alexandra Feodrovna) พระมเหสีในซาร์นิโคลัสที่ ๒ เข้าก้าวก่ายในงานบริหารราชการแผ่นดินทำให้รัฐบาลถูกวิพากษ์โจมตีอย่างมาก สงครามที่ยึดเยื้อและความพ่ายแพ้ของกองทัพรัสเซียอย่างต่อเนื่องได้นำไปสู่การเคลื่อนไหวต่อต้านสงคราม และการเกิดการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ (February Revolution)ในกรุงเปโตรกราด (Petrograd) ใน ค.ศ. ๑๙๑๗ ซาร์นิโคลัสที่ ๒ ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ทางสังคมและการเมืองไว้ได้และพระองค์จำต้องยอมประกาศสละราชบัลลังก์แก่พระอนุชาแกรนด์ดุ็กไมเคิล อะเล็กซานโดวิช (MichaelAlexsandovich) แต่ทรงปฏิเสธและมอบอำนาจการปกครองให้กับเจ้าชายเกรกอรีลวอฟ (Gregory Lvov) นายกรัฐมนตรีรัฐบาลเฉพาะกาล การปฏิเสธราชบัลลังก์ดังกล่าวมีผลให้ราชวงศ์โรมานอฟที่ปกครองรัสเซียกว่า ๓๐๐ ปีถึงกาลอวสานพระราชวงศ์ทั้งหมดถูกควบคุมตัวและกักบริเวณที่พระราชวังลิเดียที่ซาร์สโกเอเซโล(Tsarskoe Selo) และต่อมาที่เมืองเยคาเตรินบุร์ก (Yekaterinburg) ในไซบีเรียตามลำดับ
     หลังการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ รัสเซียปกครองแบบทวิอำนาจระหว่างรัฐบาลเฉพาะกาลกับสภาโซเวียตซึ่งต่างคุมเชิงและแย่งชิงอำนาจทางการเมืองกันวลาดีมีร์ เลนิน ผู้นำบอลเชวิคที่กลับเข้าประเทศในเดือนเมษายนพยายามเคลื่อนไหวทางการเมืองให้โค่นรัฐบาลเฉพาะกาลซึ่งนำไปสู่การลุกฮือในเดือนกรกฎาคมแต่ประสบความล้มเหลว อะเล็กซานเดอร์ เคเรนสกี (Alexander Kerensky)นายกรัฐมนตรีคนใหม่ประกาศดำเนินนโยบายสงครามต่อไปและแต่งตั้งนายพลลาฟร์คอร์นีลอฟ (Lavr Kornilov) เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด แต่ความนิยมต่อคอร์นีลอฟที่มีมากขึ้นทำให้เคเรนสกีหาทางกำจัดเขาและนำไปสู่กรณีคอร์นีลอฟ(Kornilov Affair) ในเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๙๑๗ หลังเหตุการณ์ครั้งนี้บอลเชวิคซึ่งมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านคอร์นีลอฟมีอิทธิพลมากขึ้นในสภาโซเวียต เลนินจึงเรียกร้องให้ยึดอำนาจทางการเมือง แต่เลฟ คาเมเนฟ (Lev Kamenev) และกรีกอรีซีโนเวียฟ (Grigori Zinoviev) พยายามคัดค้านโดยอ้างว่าเงื่อนไขการยึดอำนาจยังไม่สุกงอมพอ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะกรรมการกลางบอลเชวิคมีมติให้ยึดอำนาจและนำไปสู่การเกิดการปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution) ในกรุงเปโตรกราดในวันที่ ๒๕ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๑๗ รัฐบาลเฉพาะกาลถูกโค่นอำนาจและรัสเซียเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์และเรียกชื่อประเทศว่าสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (Russian Soviet Federative SocialistRepublic - REFSR)
     ชัยชนะของการปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๑๗ ทำให้รัสเซียเป็นประเทศสังคมนิยมประเทศแรกของโลก และเป็นประเทศแม่แบบของการปฏิวัติที่สร้างแรงบันดาลใจแก่นักปฏิวัติและประชาชาติต่าง ๆ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นแบบรัสเซีย ความสำเร็จของเลนินผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต(Soviet Communist Party) ในการวางรากฐานของระบอบสังคมนิยมระหว่าง ค.ศ.๑๙๑๗-๑๙๒๔ ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตเชื่อมั่นว่า ชนชั้นกรรมาชีพในประเทศต่าง ๆ จะก่อการปฏิวัติขึ้นในดินแดนส่วนต่าง ๆ ของโลก รัสเซียซึ่งเรียกกันทั่วไปในเวลาต่อมาว่า สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตหรือสหภาพโซเวียต (Unionof the Soviet Socialist Republics - USSR) จึงพยายามผลักดันการก่อการปฏิวัติโลกและขยายอิทธิพลทางการเมืองไปยังนานาประเทศ การขยายอำนาจของสหภาพโซเวียตมีส่วนทำให้โลกในเวลาต่อมาถูกแบ่งออกเป็น ๒ ค่ายอำนาจคือฝ่ายคอมมิวนิสต์กับฝ่ายเสรีประชาธิปไตยและนำไปสู่การเกิดสภาวะสงครามเย็น (ColdWar) ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๔๕-๑๙๙๑ นอกจากนี้ สหภาพโซเวียตในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ (Second World War) ได้กลายเป็นประเทศอภิมหาอำนาจที่มีบทบาทสำคัญในเวทีการเมืองโลก และแนวความคิดลัทธิมากซ์-เลนิน (Marxism-Leninism) ของโซเวียตก็เป็นแนวความคิดทางการเมืองที่โดดเด่นในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐
     ในการสร้างระบอบสังคมนิยมตามแนวความคิดลัทธิมากซ์ เลนินได้นำระบบเผด็จการมาใช้โดยจัดตั้งเชกา (Cheka) หรือตำรวจลับเพื่อปราบปรามกวาดล้างฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติและควบคุมประชาชน และสร้างค่ายกักกันแรงงาน(Collective Labour Camp) ขึ้นเพื่อใช้กำจัดศัตรูทางเมืองและกวาดล้างประชาชนที่ได้ชื่อว่าเป็นศัตรูของการปฏิวัติเลนินยังประกาศถอนตัวจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ด้วยการทำสนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟสค์ (Brest-Litvosk Treaty) กับเยอรมนี เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๑๘ ขณะเดียวกันเลนินก็สั่งให้ปลงพระชนม์หมู่พระราชวงศ์เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวของกลุ่มกษัตริย์นิยมที่จะคืนอำนาจแก่สถาบันซาร์ เขายังสนับสนุนให้องค์การโคมินเทิร์น (Comintern) หรือองค์การคอมมิวนิสต์สากลที่ ๓ (Third International) ผลักดันพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศต่าง ๆ ให้ก่อการปฏิวัติขึ้นในยุโรปแต่ก็ประสบความสำเร็จไม่มากนัก นโยบายการปกครองประเทศดังกล่าวได้นำไปสู่การเกิดสงครามกลางเมืองรัสเซีย (RussianCivil War) ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๑๘-๑๙๒๑ ซึ่งฝ่ายปฏิวัติมีชัยชนะ หลังสงครามกลางเมือง รัฐบาลโซเวียตประกาศใช้นโยบายเศรษฐกิจใหม่หรือเนป (NewEconomic Policy - NEP) เพื่อฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจและเพื่อกอบกู้ชื่อเสียงจากเหตุการณ์กบฏครอนชตัดท์ (Krontstadt Revolt) นอกจากนี้ รัฐบาลโซเวียตยังให้ความสำคัญกับการสร้างงานศิลปวัฒนธรรมคอมมิวนิสต์ตามแนวความคิดสัจสังคมนิยม (Socialist Realism)และรณรงค์การขจัดความไม่รู้หนังสือให้หมดไปจากสังคมโซเวียต อะนาโตลี ลูนาชาร์สกี (Anotoly Lunacharsky) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ผลักดันนโยบายดังกล่าวจนประสบความสำเร็จ และในปลายเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๙๑๘ มีการยกเลิกปฏิทินจูเลียนแบบเก่ามาใช้ปฏิทินเกรเกอเรียนตามแบบประเทศตะวันตก ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๑๘-๑๙๒๙ ก็ได้ชื่อว่าเป็นสมัยทองของศิลปวัฒนธรรมโซเวียต
     ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๒๒-๑๙๒๓ เลนินล้มป่วยและต้องถอนตัวจากงานการเมือง โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) เลขาธิการใหญ่ของพรรคจึงเห็นเป็นโอกาสดำเนินการปรับกลไกการบริหารเพื่อรวบอำนาจการปกครอง แม้เลนินจะตระหนักถึงแผนการสร้างอำนาจของสตาลินแต่เขาก็ไม่สามารถขัดขวางได้เพราะตรอตสกีสหายสนิทที่เขาต้องการให้เป็นผู้นำการต่อต้านสตาลินปฏิเสธที่จะร่วมมือและเลนินก็ป่วยหนักจนถึงแก่อสัญกรรมในเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๙๒๔ ระหว่างค.ศ. ๑๙๒๔-๑๙๒๗ เป็นช่วงความขัดแย้งภายในพรรคและการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างแกนนำพรรคกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งท้ายที่สุดสตาลินสามารถกำจัดฝ่ายตรงข้ามได้หมดและเป็นผู้เดียวที่มีอำนาจสูงสุด สตาลินปกครองประเทศอย่างเข้มงวดและผลักดันการเปลี่ยนสังคมโซเวียตให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยโดยเสนอแนวความคิด “สังคมนิยมในประเทศเดียว”(Socialism in One Country)เพื่อสร้างระบอบสังคมนิยมให้เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยการปฏิวัติจากประเทศในยุโรปมาหนุนช่วย เขาล้มเลิกนโยบายเศรษฐกิจใหม่ และประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ๕ ปี (Five Year Plan) เพื่อปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจของรัสเซียเป็นระบบสังคมนิยมความสำเร็จของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ๕ ปีฉบับแรก (ค.ศ. ๑๙๒๘-๑๙๓๓) ทำให้สหภาพโซเวียตในเวลาต่อมากำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ๕ ปี ฉบับต่าง ๆอีกหลายฉบับจนถึง ค.ศ. ๑๙๙๑ โดยเกือบทุกฉบับเน้นความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมนอกจากนี้สตาลินยังจัดตั้งสหภาพนักเขียนโซเวียต (The Union of Soviet Writers)ขึ้น เพื่อเป็นองค์การแห่งรัฐเพื่อชี้นำแนวทางการสร้างงานศิลปวรรณกรรมและการสร้างความเป็นเอกภาพของนโยบายด้านวัฒนธรรมสหภาพนักเขียนโซเวียตจึงเป็นเครื่องมือของพรรคในการควบคุมศิลปินนักเขียนและการผูกขาดการสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรม
     ในปลาย ค.ศ. ๑๙๓๔ เซียร์เกย์ มีโรโนวิช คีรอฟ (Sergey MironovichKirov) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สาขาเลนินกราดซึ่งเป็นคู่แข่งของสตาลินถูกลอบสังหาร สตาลินจึงใช้เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นข้ออ้างกวาดล้างศัตรูทางการเมืองของเขา และนำไปสู่สมัยแห่งความเหี้ยมโหดทางการเมืองหรือการกวาดล้างครั้งใหญ่(Great Purges) ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๓๖-๑๙๓๘ ประมาณว่าสมาชิกพรรคและประชาชนที่ถูกสังหารมีจำนวนกว่า ๕๐๐,๐๐๐ คน นีโคไล เยจอฟ (Nikolai Yezhov)หัวหน้าตำรวจลับที่สืบอำนาจจากเกนรีฮ์ ยาโกดา (Genrikh Yagoda) มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการกวาดล้างอย่างรุนแรงทั่วประเทศจนสตาลินเริ่มวิตกว่าจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ เพราะการกวาดล้างเกินขอบเขตที่เขาต้องการจะมีส่วนทำลายภาพลักษณ์ของพรรค สตาลินจึงหาทางกำจัดเยจอฟและแต่งตั้งลัฟเรนตีเบเรีย (Lavrenty Beria) ให้ดำรงตำแหน่งแทน สตาลินยังพยายามสร้างภาพลักษณ์ใหม่ด้วยการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นซึ่งเรียกกันต่อมาว่ารัฐธรรมนูญฉบับสตาลิน ค.ศ. ๑๙๓๖ และขณะเดียวกันก็สนับสนุนเรื่องการลดกำลังอาวุธขององค์การสันนิบาติชาติ (League of Nations)รวมทั้งถอนตัวออกจากการแทรกแซงในสงครามกลางเมืองสเปน (Spanish CivilWar ค.ศ. ๑๙๓๖-๑๙๓๙) มัคซิม ลิวินอฟ (Maksim Litvinov) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของโซเวียตยังเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ประเทศตะวันตกร่วมมือกันต่อต้านเยอรมนี ซึ่งมีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นผู้นำแต่ประเทศตะวันตกซึ่งยังคงหวาดระแวงสหภาพโซเวียตไม่สนใจต่อข้อเรียกร้องของลิวินอฟและดำเนินนโยบายเอาใจอักษะประเทศ (Appeasement Policy)ด้วยการโอนอ่อนต่อความต้องการของเยอรมนี เพื่อหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งที่จะนำไปสู่การเกิดสงคราม
     ใน ค.ศ. ๑๙๓๘ ประเทศมหาอำนาจตะวันตกบีบบังคับให้เชโกสโลวะเกียยกซู เดเทนลันด์ (Sudeten Land) ให้แก่เยอรมนี ตามความตกลงมิวนิก (MunichAgreement ค.ศ. ๑๙๓๖) สตาลินจึงเห็นว่าระบบการประกันความมั่นคงร่วมกัน(Collective Security) ล้มเหลวและไม่เชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของอังกฤษกับฝรั่งเศส สหภาพโซเวียตจึงลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างนาซี-โซเวียต(Nazi-Soviet Nonaggression Pact) หรือกติกาสัญญาริบเบนทรอพ-โมโลตอฟ(Ribbentrop-Molotov Pact) เป็นเวลา ๑๐ ปีเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๓๙นอกจากนี้ยังมีพิธีสารลับพ่วงท้ายซึ่งแบ่งเขตอิทธิพลระหว่างโซเวียตกับเยอรมนี ในยุโรป สหภาพโซเวียตในเวลาต่อมาจึงอ้างข้อตกลงลับนี้ในการเข้ายึดครองสามรัฐบอลติก (Baltic States) และฟินแลนด์ หนึ่งสัปดาห์หลังการทำกติกาสัญญาไม่รุกรานกัน เยอรมนี ก็บุกโจมตีโปแลนด์ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ค.ศ. ๑๙๓๙ และนำไปสู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ เยอรมนี มีชัยชนะอย่างรวดเร็วและในกลางค.ศ. ๑๙๔๐ ประเทศในยุโรปเกือบทั้งหมดยกเว้นอังกฤษก็ตกอยู่ใต้การยึดครองของเยอรมนี แต่ความล้มเหลวของการโจมตีในยุทธการที่เกาะอังกฤษ (Battleof Britain) ค.ศ. ๑๙๔๐ ทำให้เยอรมนี เปิดแนวรบด้านตะวันออกด้วยการบุกโจมตีสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๑ เพื่อหวังชัยชนะและเพื่อกอบกู้ชื่อเสียงของเยอรมนี อังกฤษประกาศสนับสนุนสหภาพโซเวียตทันทีและตามด้วยสหรัฐอเมริกาในปลาย ค.ศ. ๑๙๔๑ ซึ่งนำไปสู่สมัยการเป็นพันธมิตรอันยิ่งใหญ่(Grand Alliances) ระหว่าง ๓ ประเทศมหาอำนาจระหว่าง ค.ศ. ๑๙๔๑-๑๙๔๕สหภาพโซเวียตยืนหยัดต่อสู้การบุกหนักของเยอรมนี อย่างทรหดและสามารถป้องกันการปิดล้อมเมืองเลนินกราด (Siege of Leningrad) และต่อมามีชัยชนะต่อเยอรมนี ในยุทธการที่สตาลินกราด (Battle of Stalingrad) และยุทธการที่เมืองคุรสค์ (Battle of Kursk) ได้ตามลำดับ การพ่ายแพ้อย่างยับเยินของเยอรมนี ที่เมืองคุรสค์ทำให้เยอรมนี ต้องล่าถอยออกจากแนวรบตะวันออก และขณะเดียวกันก็นำไปสู่การประชุมสำคัญครั้งแรกของฝ่ายพันธมิตรที่กรุงมอสโกเพื่อหารือเกี่ยวกับการเอาชนะเยอรมนี และตกลงกันว่าด้วยความมั่นคงทั่วไปของยุโรปเมื่อสงครามสิ้นสุดลง ความสำเร็จของการประชุมที่กรุงมอสโก (Moscow Conference ค.ศ.๑๙๔๓) จึงนำไปสู่การเกิดประชุมครั้งสำคัญอีกหลายครั้งเพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายสงครามและอนาคตของยุโรปในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ จะสิ้นสุดลงกล่าวคือ การประชุมที่เตหะราน (Teharan Cenference ค.ศ. ๑๙๔๓) การประชุมที่ไคโร (Cairo Conference ค.ศ. ๑๙๔๓) การประชุมที่ยัลตา (Yalta Conferenceค.ศ. ๑๙๔๕) และการประชุมที่พอทสดัม (Potsdam Conference ค.ศ. ๑๙๔๕)
     เมื่อประเทศพันธมิตรยกพลขึ้นบกในวันดี-เดย์ (D-Day) ที่หาดนอร์มองดีเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๔ และสามารถปลดปล่อยเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ได้สำเร็จ กองทัพเยอรมนี เริ่มเป็นฝ่ายล่าถอยอย่างต่อเนื่อง และหลังยุทธการที่เบอร์ลิน (Battle of Berlin) ค.ศ. ๑๙๔๕ เยอรมนี ก็ยอมแพ้ สงครามในยุโรปจึงสิ้นสุดลงพร้อมกับการล่มสลายของจักรวรรดิไรค์ที่ ๓ (Third Reich) ชัยชนะในสงครามโลกทำให้สหภาพโซเวียตมีฐานะเป็นประเทศอภิมหาอำนาจและเริ่มขยายอิทธิพลและอำนาจเข้าครอบงำประเทศยุโรปตะวันออก นโยบายดังกล่าวได้นำไปสู่ความขัดแย้งและการแข่งขันกันทางการเมืองกับสหรัฐอเมริกา สงครามเย็น (ColdWar) จึงก่อตัวขึ้นในยุโรปช่วงปลาย ค.ศ. ๑๙๔๕ และในเวลาอันสั้นก็ขยายขอบเขตออกไปทั่วโลก
     หลังสงครามโลกสิ้นสุดลง สหภาพโซเวียตหันมาปกครองประเทศอย่างเข้มงวดอีกครั้งหนึ่งและประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ๕ ปี ฉบับที่ ๔ และ ๕เพื่อฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจของประเทศ ในต้น ค.ศ. ๑๙๔๙ มีการจัดตั้งองค์การโคเมคอน(Comecon) ขึ้นเพื่อตอบโต้แผนมาร์แชล (Marshall Plan) ของสหรัฐอเมริกาและเพื่อร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสหภาพโซเวียตกับประเทศยุโรปตะวันออก ขณะเดียวกันก็มีการจัดตั้งองค์การโคมินฟอร์ม (Cominform) หรือสำนักงานข่าวสารคอมมิวนิสต์ (Communist Information Bureau) ขึ้นเพื่อควบคุมประเทศยุโรปตะวันออกและเพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ข่าวสารลัทธิคอมมิวนิสต์ ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๕๒ มีการเปิดประชุมใหญ่พรรคครั้งที่ ๑๙ ขึ้นที่กรุงมอสโกเพื่อสรุปบทเรียนจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ และกำหนดแนวนโยบายของประเทศหลังสงคราม มีการเปลี่ยนชื่อพรรคคอมมิวนิสต์จากพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งมวลแห่งบอลเชวิค (All Union Communist Party of Bolsheviks) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (Communist Party of the Soviet Union - CPSU) หลังการประชุมใหญ่ครั้งนี้ไม่นานนัก มีการสืบพบแผนฆาตกรรมผู้นำพรรคและบุคคลสำคัญของประเทศที่เรียกว่า แผนฆาตกรรมของคณะแพทย์ (Doctorsû Plot) ใน ค.ศ.๑๙๕๓ การกวาดล้างอย่างรุนแรงจึงเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ดำเนินไปเพียงช่วงเวลาสั้นๆ เพราะสตาลินถึงแก่อสัญกรรมในต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๕๓
     หลังอสัญกรรมของสตาลิน เป็นที่คาดหมายกันว่าเกออร์กี มาเลนคอฟ(Georgi Malenkov) จะได้ดำรงตำแหน่งผู้นำพรรค แต่นีกีตา ครุชชอฟ (NikitaKhrushchev) ร่วมมือกับเบเรียหัวหน้าตำรวจลับ และเวียเชสลัฟ โมโลตอฟ(Vyasheslav Molotov) แกนนำพรรคอาวุโสขัดขวางและในท้ายที่สุดครุชชอฟก็ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำพรรคใน ค.ศ. ๑๙๕๖ ในการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตครั้งที่ ๒๐ (Twentieth Congress of the Communist Party of the Soviet)ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๕๖ ครุชชอฟได้ประกาศนโยบายต่างประเทศด้วยหลักการการอยู่ร่วมกันโดยสันติ (peaceful coexistence) กับประเทศที่มีระบบการเมืองการปกครองแตกต่างกัน และการยอมรับแนวทางอันหลากหลายของพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศยุโรปตะวันออกในการสร้างสรรค์ระบอบสังคมนิยมที่แตกต่างจากสหภาพโซเวียต เขาประกาศยุบค่ายกักกันแรงงานและยกเลิกการทารุณหฤโหดต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือของพรรครวมทั้งผ่อนคลายความเข้มงวดทางสังคมและการเมือง นอกจากนี้ ครุชชอฟยังกล่าวสุนทรพจน์ลับโจมตีสตาลินและแนวความคิดลัทธิการบูชาบุคคล (Cult of Personality) ที่สตาลินสร้างขึ้นเพื่อทำลายแนวความคิดและอิทธิพลของลัทธิสตาลิน (Stalinism) การประชุมใหญ่ ค.ศ. ๑๙๕๖จึงเป็นจุดเริ่มต้นของนโยบายการล้มล้างอิทธิพลสตาลิน (De-stalinization) และนำไปสู่บรรยากาศเสรีที่เป็นประชาธิปไตยทั้งในสหภาพโซเวียตและประเทศบริวารโซเวียต (Soviet Bloc) ครุชชอฟจึงมีบทบาทโดดเด่นในฐานะผู้นำนักปฏิรูป
     นโยบายการล้มล้างอิทธิพลสตาลินทำให้ประเทศยุโรปตะวันออกเห็นเป็นโอกาสเคลื่อนไหวเรียกร้องการปฏิรูปทางการเมือง แม้สหภาพโซเวียตจะสนับสนุนแนวทางการปฏิรูปในโปแลนด์ ที่มีวลาดิสลัฟ โกมุลกา (Wladyslav Gomulka)เป็นผู้นำ แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับแนวทางปฏิรูปของอิมเร นอจ (Imre Nagy) ในฮังการี ซึ่งต้องการแยกตัวออกจากองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw TreatyOrganization - WTO) และให้สหภาพโซเวียตถอนกำลังออกจากประเทศ สหภาพโซเวียตจึงส่งกำลังทหารปราบปราบการลุกฮือของชาวฮังการี (HungarianUprising) ใน ค.ศ. ๑๙๕๖ และสนับสนุนให้ยานอช คาดาร์ (János Kádar) เป็นผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ฮังการี สืบต่อจากนอจ ในการบุกปราบปรามฮังการี ครั้งนี้ยอซิป บรอซ หรือตีโต (Josip Broz; Tito) ผู้นำยูโกสลาเวียที่เพิ่งปรับฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหภาพโซเวียตใหม่ก็สนับสนุนครุชชอฟอย่างมาก
     ใน ค.ศ. ๑๙๕๗ สหภาพโซเวียตประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมสปุตนิค(Sputnik) ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกไปโคจรรอบโลกได้สำเร็จ อีก ๔ ปีต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๖๑ ก็ส่งยานอวกาศวอสตอค ๑ (Vostok I)พร้อมกับมนุษย์คนแรกไปโคจรรอบโลกอยู่ในอวกาศครบหนึ่งรอบเป็นเวลา ๑๐๘ นาทียูีรกาการิน (Yuri Gagarin) มนุษย์อวกาศคนแรกของโลกกลายเป็นวีรบุรุษของสหภาพโซเวียต ความสำเร็จทางอวกาศดังกล่าวทำให้สหภาพโซเวียตสามารถพัฒนาระบบการส่งหัวรบนิวเคลียร์ในรูปขีปนาวุธไปโจมตีในระยะไกลได้และมีศักยภาพทางนิวเคลียร์เท่าเทียมสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม ต่อมาครุชชอฟก็ตระหนักถึงภัยของสงครามนิวเคลียร์และไม่ต้องการผชิญหน้าโดยตรงกับสหรัฐอเมริกา ครุชชอฟจึงเปิดทางที่จะให้มีการเจรจาลดกำลังอาวุธและควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ทั้งกับสหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรปตะวันตกจนท้ายที่สุดได้นำไปสู่การลงนามร่วมกันระหว่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และสหภาพโซเวียตที่กรุงมอสโกในสนธิสัญญา ห้ามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Test Ban Treaty) ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๖๓
     ในต้นทศวรรษ ๑๙๖๐ บรรยากาศความร่วมมืออันดีระหว่างประเทศได้เปราะบางขึ้นเมื่อสหภาพโซเวียตได้สร้างกำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall) ในค.ศ. ๑๙๖๑ ปิดกั้นพรมแดนในนครเบอร์ลินระหว่างเบอร์ลินตะวันตกกับเบอร์ลินตะวันออกเพื่อป้องกันการหลบหนีของชาวเยอรมันในเยอรมนี ตะวันออกมาเยอรมนี ตะวันตก ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๖๒ สหภาพโซเวียตก็จุดชนวนความตึงเครียดของสงครามเย็นในวิกฤตการณ์ขีปนาวุธที่คิวบา (Cuba Missile Crisis)วิกฤตการณ์ขีปนาวุธที่คิวบาส่งผลกระทบต่อสถานภาพความเป็นผู้นำของครุชชอฟไม่น้อยเพราะฝ่ายกองทัพไม่พอใจการดำเนินนโยบายของครุชชอฟอย่างมาก และสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งขุ่นเคืองการวิพากษ์โจมตีสตาลินของของครุชชอฟมาก่อนก็โจมตีสหภาพโซเวียตอย่างหนักโดยกล่าวหาว่าสหภาพโซเวียตอ่อนข้อต่อสหรัฐอเมริกาและเป็นฝ่ายลัทธิแก้ที่ไม่ยึดมั่นในหลักการลัทธิมากซ์-เลนิน ความเพลี่ยงพล้ำทางการทูตของครุชชอฟดังกล่าวจึงนำไปสู่การคบคิดของกลุ่มแกนนำพรรคที่มีเลโอนิด เบรจเนฟ (Leonid Brezhnev) สหายสนิทที่ครุชชอฟไว้วางใจเป็นผู้นำ ครุชชอฟจึงถูกบีบบังคับให้ลาออกจากตำแหน่งผู้นำพรรคและผู้นำประเทศในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๖๔ด้วยข้ออ้างปัญหาสุขภาพ
     การสิ้นอำนาจของครุชชอฟไม่เพียงเป็นการสิ้นสุดของบรรยากาศเสรีทางประชาธิปไตยเท่านั้น แต่ยังเป็นการเริ่มต้นสมัยของความอับเฉาทางปัญญาและการควบคุมทางสังคมที่เข้มงวดอีกครั้งหนึ่ง เบรจเนฟผู้นำคนใหม่เป็นคนหัวเก่าและผู้นิยมสตาลิน เขานำระบอบสตาลินกลับมาใช้ปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่งและสนับสนุนให้ยูีรอันโดรปอฟ (Yuri Andropov) หัวหน้าคณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐหรือเคจีบี(Committee for State Security - KGB) มีอำนาจมากขึ้นในการควบคุมและปราบปรามประชาชน ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๖๗-๑๙๖๙ และค.ศ. ๑๙๗๒-๑๙๗๓ รัฐบาลเพิ่มมาตรการเข้มงวดทางสังคมและปราบปรามการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างหนัก โดยเฉพาะการกวาดล้างซามิซดัต(Samizdat) สิ่งพิมพ์ใต้ดินที่เป็นสื่อแสดงออกทางความคิดเห็นและเป็นรูปแบบของการเคลื่อนไหวต่อสู้ของขบวนการประชาชน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๖๘สหภาพโซเวียตยังส่งกองทัพขององค์การสนธิสัญญาวอร์ซอปราบปรามขบวนการประชาธิปไตยในเชโกสโลวะเกียซึ่งมีอะเล็กซานเดอร์ดูบเชก (Alexander Dubcek)เป็นผู้นำ ต่อมาในปลายเดือนกันยายน เบรจเนฟก็ประกาศหลักการเบรจเนฟ(Brezhnev Doctrine) โดยย้ำความมีอธิปไตยจำกัดของประเทศสังคมนิยมและการยึนยันสิทธิและพันธะหน้าที่ของสหภาพโซเวียตที่จะพิทักษ์ปกป้องความมั่นคงของระบอบสังคมนิยมในประเทศยุโรปตะวันออกและการจะเข้าแทรกแซงทางทหารในประเทศยุโรปตะวันออกเพื่อปราบปรามศัตรูของระบอบสังคมนิยม หลักการเบรจเนฟไม่เพียงเป็นการประกาศเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียตเท่านั้น แต่ยังเป็นมาตรการควบคุมประเทศยุโรปตะวันออกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสหภาพโซเวียตด้วย
     ในต้นทศวรรษ ๑๙๗๐ สหรัฐอเมริกาได้ปรับความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีน และได้ใช้ประโยชน์จากความขัดแย้งระหว่างสหภาพโซเวียตกับจีนดำเนินนโยบายที่เรียกว่าการเมืองสามเส้าโดยสหรัฐอเมริกาเป็นฝ่ายถ่วงดุลในการเจรจาติดต่อกับ ๒ ประเทศมหาอำนาจ นโยบายดังกล่าวมีส่วนทำให้บรรยากาศอันตึงเครียดของสงครามเย็นในยุโรปและดินแดนส่วนอื่น ๆ ของโลกผ่อนคลายลง และนำไปสู่ยุคแห่งการผ่อนคลายความตึงเครียด (D”tente) สหภาพโซเวียตได้ประชุมหารือร่วมกับสหรัฐอเมริกาหลายครั้งเพื่อควบคุมการสะสมยุทโธปกรณ์และการจำกัดอาวุธนิวเคลียร์ จนมีการลงนามร่วมกันในข้อตกลงการเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ครั้งที่ ๑ (Strategic Arms Limitation Talks - SALT I) ที่กรุงมอสโกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๗๒ ในขณะเดียวกันอันเดรย์ โกรมีโค (Andrei Gromyko)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศโซเวียตก็หันมาปรับความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพโซเวียตกับประเทศตะวันตกโดยเฉพาะเยอรมนี ตะวันตก และนำไปสู่การตกลงเกี่ยวกับปัญหาสถานภาพนครเบอร์ลินและเส้นเขตแดนระหว่างเยอรมนี ตะวันตกกับโปแลนด์ ความตกลงดังกล่าวมีส่วนทำให้นโยบายมุ่งตะวันออก (Ostpolitik) ของวิลลีบรันดท์ (Willy Brandt) นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ตะวันตกประสบความสำเร็จมากขึ้น ทั้งทำให้เกิดการประชุมครั้งสำคัญระหว่างสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรปตะวันตกอื่น ๆ ในการประชุมเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือกันในยุโรปหรือซีเอสซีอี(Conference on Security and Cooperation in Europe -CSCE) ใน ค.ศ. ๑๙๗๕ ผลที่สำคัญของการประชุมคือ ข้อตกลงเฮลซิงกิ(HelsinkiAgreement) ซึ่งยอมรับการแบ่งเขตแดนระหว่างยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออกและความร่วมมือกันทางด้านต่าง ๆ แต่ที่สำคัญที่สุดคือข้อตกลงในหลักสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในประเทศต่าง ๆ ข้อตกลงดังกล่าวนี้ได้ก่อให้เกิดการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในประเทศยุโรปตะวันออกและการก่อตัวของขบวนการประชาธิปไตย เช่น กลุ่มกฎบัตร ๗๗ (Charter 77) ในเชโกสโลวะเกียและขบวนการโซลิดาริตี (Solidarity) ในโปแลนด์ ซึ่งรัฐบาลโซเวียตไม่อาจปราบปรามได้
     ในต้นทศวรรษ ๑๙๘๐ เบรจเนฟล้มป่วยและแทบจะไม่มีบทบาทและอำนาจในการตัดสินใจใด ๆ ในเรื่องนโยบายการปกครองทั้งภายในและภายนอกประเทศแกนนำโปลิตบูโรได้พยายามปกปิ ดอาการป่วยของเบรจเนฟต่อสาธารณชนและโหมสดุดีความเป็นผู้นำของเบรจเนฟอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ตระหนักถึงการชักใยอำนาจที่อยู่เบื้องหลัง ในช่วงเวลาเดียวกัน สหภาพโซเวียตได้ส่งกองทหารเข้าแทรกแซงในอัฟกานิสถานซึ่งทำให้บรรยากาศการเมืองโลกตึงเครียดและสงครามอัฟกานิสถานในเวลาต่อมาได้กลายเป็น “สงครามเวียดนามของสหภาพโซเวียต”ซึ่งบั่นทอนความมั่นคงของประเทศ นานาประเทศต่อต้านการแทรกแซงทางทหารครั้งนี้ด้วยการไม่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ค.ศ. ๑๙๘๐ ที่สหภาพโซเวียตเป็นเจ้าภาพ สหรัฐอเมริกาก็ปฏิเสธไม่ให้สัตยาบันการเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ครั้งที่ ๒ ด้วย ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๘๑-๑๙๘๒ อาการเจ็บป่วยของเบรจเนฟก็ไม่สามารถปกปิดได้อีกต่อไปและต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๘๒ เบรจเนฟก็ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจ
     ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๘๒-๑๙๘๕ สหภาพโซเวียตมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำ๒ คน คือยูีรอันโดรปอฟ และคอนสตันติน เชียร์เนนโค (Konstantin Chernenko)ซึ่งยังคงสานต่อแนวนโยบายของเบรจเนฟและต่างก็เสียชีวิตลงด้วยปัญหาสุขภาพและวัยสูงอายุ ใน ค.ศ. ๑๙๘๕ มีฮาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) คอมมิวนิสต์หัวปฏิรูปในวัย ๕๔ ปีได้รับเลือกเป็นผู้นำประเทศ เขาประกาศที่จะผลักดันสหภาพโซเวียตให้ก้าวไปข้างหน้าในระบอบสังคมนิยมที่เป็นประชาธิปไตยทุก ๆ ด้านตามแนวความคิดกลาสนอสต์ (Glasnost) และเปเรสตรอยกา (Perestroika) หรือนโยบายเปิด-ปรับ ซึ่งหมายถึงการปรับและเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมให้เป็นไปในแนวทางประชาธิปไตย กอร์บาชอฟยังประกาศนโยบายที่จะยุติการแข่งขันด้านสะสมกำลังอาวุธ และเน้นการร่วมมือแก้ไขปัญหาระดับโลกกับนานาประเทศเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติโดยส่วนรวม การก้าวสู่อำนาจของกอร์บาชอฟจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โซเวียตและเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดสงครามเย็นและการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในเวลาต่อมา
     เมื่อเกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุเชียร์โนบิล (Chernobyl Accident) ซึ่งโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยพลังนิวเคลียร์ระเบิดขึ้นที่เมืองเชียร์โนบิลใกล้กรุงเคียฟ (Kiev) ในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๘๖ รัฐบาลโซเวียตในระยะแรกพยายามปิดข่าว แต่สารกัมมันตรังสีที่แพร่กระจายออกไปในวงกว้าง รวมทั้งไฟที่ลุกไหม้นานกว่าสัปดาห์ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถปิดข่าวได้อีกและต้องขอความช่วยเหลือจากประเทศต่าง ๆ เพื่อควบคุมการแพร่กระจายกัมมันตรังสีอุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้รัฐบาลเร่งดำเนินนโยบายกลาสนอสต์อย่างจริงจังโดยยกเลิกการควบคุมสื่อมวลชนและไม่ให้มีการปิดบังข่าวสารอีกต่อไป ทั้งเปิดทางให้มีการตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาลด้วย ระหว่างค.ศ. ๑๙๘๖-๑๙๘๘ จึงเป็นช่วงของการเกิดบรรยากาศเสรีทางความคิดเห็นและความเป็นประชาธิปไตยในสังคม สหภาพโซเวียตยังหันมาเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศด้วยเพื่อสร้างบรรยากาศการเมืองโลกที่สงบอันจะเอื้อประโยชน์ต่อการปฏิรูปภายในประเทศ เอดูอาร์ด เชวาร์ดนาดเซ (Eduard Shevardnadze)รัฐมนตรีต่างประเทศได้ปรับนโยบายต่างประเทศให้มีลักษณะยืดหยุ่นและผ่อนคลายมากขึ้น จนนำไปสู่การประชุมสุดยอดระหว่างสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาที่นครเจนีวา (ค.ศ. ๑๙๘๕) กรุงเรกยะวิก (Reykjavik) สาธารณรัฐไอซ์แลนด์ (ค.ศ. ๑๙๘๘) กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (ค.ศ. ๑๙๘๗) และกรุงมอสโก (ค.ศ. ๑๙๘๘)นอกจากนี้สหภาพโซเวียตยังปรับความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ดีขึ้นและประกาศจะถอนกำลังทหารออกจากอัฟกานิสถานซึ่งยึดครองนานถึง ๙ ปีให้หมดสิ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๘๙ด้วย
     การปฏิรูปทางการเมืองและสังคมในสหภาพโซเวียตเปิดโอกาสให้กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตยและเริ่มเคลื่อนไหวแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียตด้วยจนนำไปสู่การปฏิวัติ ค.ศ. ๑๙๘๙ (Revolutionsof 1989) สหภาพโซเวียตปฏิเสธที่จะใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซงและสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งอย่างเสรีตามระบอบประชาธิปไตย นโยบายดังกล่าวจึงนำไปสู่การสิ้นสุดอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์ในเยอรมนี ตะวันออก โปแลนด์ ฮังการี และเชโกสโลวะเกียในช่วงปลาย ค.ศ. ๑๙๘๙-๑๙๙๐ และในปลาย ค.ศ. ๑๙๘๙ สหภาพโซเวียต กับสหรัฐอเมริกาซึ่งประชุมกันที่มอลตา (Malta) ก็ประกาศการสิ้นสุดของสงครามเย็นอย่างเป็นทางการ การประกาศดังกล่าวมีส่วนทำให้กำแพงเบอร์ลินถูกทำลายลงในต้น ค.ศ. ๑๙๙๐ ในฤดูร้อน ค.ศ. ๑๙๙๐ กอร์บาชอฟก็ยอมให้เยอรมนี ตะวันออกรวมเข้ากับเยอรมนี ตะวันตกและไม่ขัดขวางที่ประเทศเยอรมนี ใหม่จะเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต (North Atlantic TreatyOrganization - NATO) การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในยุโรปตะวันออกได้ก่อให้เกิดกระแสชาตินิยมและความขัดแย้งทางการเมืองภายในสาธารณรัฐโซเวียตต่าง ๆและทำให้รัฐบอลติก (Baltic States) ซึ่งประกอบด้วย เอสโตเนีย (Estonia) ลัตเวีย (Latvia) และลิทัวเนีย (Lithuania) เคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชเพื่อแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียตด้วย บอริส เยลต์ซิน (Boris Yeltsin) คู่แข่งทางการเมืองของกอร์บาชอฟและเป็นประธานาธิบดีของสหพันธรัฐรัสเซียก็สนับสนุนการแยกตัวของสาธารณรัฐโซเวียตต่าง ๆ กอร์บาชอฟพยายามแก้ไขปัญหาด้วยการยอมให้สาธารณรัฐโซเวียตต่าง ๆ มีอำนาจอธิปไตยภายในมากขึ้น และเสนอการจัดทำสนธิสัญญาสหภาพใหม่ (New Treaty of the Union) แต่ก็ประสบความล้มเหลวนอกจากนี้ ความล้มเหลวของการปฏิรูปเศรษฐกิจให้เป็นตลาดเสรีก็ทำให้กอร์บาชอฟยิ่งถูกต่อต้านมากขึ้นจากฝ่ายต่าง ๆ และความนิยมของประชาชนต่อเขาก็เริ่มลดน้อยลงมากขึ้น
     ต่อมา ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๑ กองทัพและกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวอนุรักษ์ได้ก่อรัฐประหารเพื่อโค่นอำนาจกอร์บาชอฟ แต่ล้มเหลวเพราะประชาชนซึ่งมีเยลต์ซินเป็นผู้นำรวมพลังกันต่อต้านจนได้รับชัยชนะ หลังรัฐประหารเดือนสิงหาคมเยลต์ซินมีบทบาทและอำนาจมากขึ้นจนมีฐานะเป็นเสมือนผู้นำประเทศแทนกอร์บาชอฟเขาออกกฤษฎีกาหลายฉบับจำกัดบทบาทและอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์ในสหพันธรัฐรัสเซีย และต่อมาก็เจรจาตกลงกับผู้นำของยูเครน และเบลารุส (Belarus) และร่วมกันลงนามจัดตั้งเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States - CIS)ขึ้นที่กรุงมินสก์ (Minsk) นครหลวงของเบลารุส เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๙๑ตลอดจนโน้มน้าวให้สาธารณรัฐโซเวียตอื่น ๆ เข้าร่วมด้วย ในวันที่ ๒๑ ธันวาคมบรรดาสาธารณรัฐโซเวียตได้ออกคำประกาศอัลมา-อาตา (Alma-Ata Declaration) ว่าทั้ง ๑๑ ประเทศมีฐานะเท่าเทียมกันในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งเครือรัฐเอกราชทั้งเป็นผู้สืบสิทธิของสหภาพโซเวียต คำประกาศอัลมา-อาตาจึงทำให้สหภาพโซเวียตสลายตัวลงและอีก ๔ วันต่อมา กอร์บาชอฟก็ประกาศลาออกจากการเป็นผู้นำของสหภาพโซเวียตธงแดงซึ่งมีสัญลักษณ์ดวงดาวเหนือค้อนกับเคียวที่เคยโบกสะบัดเหนือเครมลินเป็นเวลา ๔ ปี ได้ถูกลดลงจากเสาและแทนที่ด้วยธงชาติสามสีของสหพันธรัฐรัสเซียที่เคยใช้ในสมัยซาร์ และเป็นการเริ่มต้นของชาติรัสเซียใหม่บนเส้นทางประชาธิปไตย
     หลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย เยลต์ซินซึ่งยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียจนถึง ค.ศ. ๑๙๙๙ ได้เริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจด้วยการลอยตัวราคาสินค้าต่าง ๆ และเน้นความเข้มงวดนโยบายการเงินและการคลังเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อ แต่ราคาสินค้าที่ถีบตัวสูงขึ้นทุกขณะจากร้อยละ ๒๕๐ ในเดือนมกราคมค.ศ. ๑๙๙๒ เป็นร้อยละ ๙๐๐ ในเดือนมีนาคมและในปลาย ค.ศ. ๑๙๙๒ ราคาสินค้าทั่วไปที่ตำท่ ี่สุดก็มีราคาโดยเฉลี่ยสูงถึง ๓๐ เท่าของราคาต้นปี ได้ทำให้ความเดือดร้อนขยายตัวไปทั่วเพราะประชาชนส่วนใหญ่ตกอยู่ในสภาพยากจน การต่อต้านรัฐบาลจึงก่อตัวขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งความนิยมต่อเยลต์ชินก็ลดลงอย่างมากรัฐสภาพยายามเรียกร้องให้มีการควบคุมราคาสินค้า และให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไปทั้งพยายามทอนอำนาจประธานาธิบดีลงซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง เยลต์ซินจึงประกาศใช้อำนาจบริหารพิเศษโดยถือว่าคำสั่งของประธานาธิบดีคืออำนาจสูงสุดของประเทศและรัฐสภาไม่มีอำนาจล้มล้างอำนาจประธานาธิบดี ความขัดแย้งดังกล่าวได้นำไปสู่เหตุการณ์ที่เรียกว่ากบฏเดือนตุลาคม(October Putsch) ค.ศ. ๑๙๙๓ และรัฐสภาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ในปลายปี เดียวกันเยลต์ซินประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีมากขึ้น
     ในปลาย ค.ศ. ๑๙๙๔ เชชเนีย (Chechnya) ซึ่งเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเอง ประกาศเอกราชแยกตัวออกจากรัสเซีย แต่เยลต์ซินไม่เห็นด้วยและใช้กำลังเข้าปราบปรามซึ่งนำไปสู่สงครามเชชเนียระหว่าง ค.ศ. ๑๙๙๔-๑๙๙๖ สงครามเชชเนียและสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ทำให้ความนิยมต่อเยลต์ซินลดลง เขาจึงพยายามหาทางยุติปัญหาเชชเนียด้วยการเจรจายุติการสู้รบและให้ชะลอเวลาเรื่องการแยกตัวออกไปอีก ๕ ปี ความสำเร็จในการแก้ปัญหาดังกล่าวมีส่วนทำให้เยลต์ซินได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ ๒ ใน ค.ศ. ๑๙๙๖ โดยชนะคู่แข่งจากพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเฉียดฉิว ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๙๖-๑๙๙๙ รัสเซียพยายามแสดงบทบาทสำคัญในเวทีการเมืองระหว่างประเทศในวิกฤตการณ์คอซอวอ (KosovoCrisis) และเน้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราชและประเทศยุโรปตะวันตก เมื่อเยลต์ซินลาออกจากตำแหน่งด้วยปัญหาสุขภาพเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๙๙ วลาดีมีร์ ปูติน (Vladimir Putin) ได้สืบทอดตำแหน่งแทน ในปีที่ปูตินขึ้นสู่อำนาจ คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ก็สถาปนาซาร์นิโคลัส พระมเหสี พระราชโอรส และพระราชธิดารวม ๗ พระองค์ เป็นนักบุญในวันที่ ๑๔ สิงหาคม ค.ศ. ๒๐๐๐ ด้วยเหตุผลที่ว่าทุกพระองค์ทรงยืนหยัดอย่างองอาจในความทุกข์ทรมานในการต่อสู้กับปิศาจแห่งความชั่วร้าย การสถาปนาดังกล่าวจึงเป็นเสมือนการฟื้นฟูพระเกียรติยศอันสูงสุดของราชวงศ์โรมานอฟ และมีส่วนทำให้ความชื่นชมซาร์กลับมาเป็นกระแสสำคัญในการเมืองและสังคมรัสเซียอีกครั้งหนึ่ง
     ในการแก้ปัญหาการเมืองภายในปูตินประกาศใช้มาตรการเด็ดขาดในการแก้ปัญหาเชชเนียโดยถือว่ากลุ่มกบฏเชชเนียเป็นเสมือนกลุ่มก่อการร้าย ขณะเดียวกันเขาก็มีนโยบายปราบปรามกลุ่มมาเฟียในวงการธุรกิจต่าง ๆ ในด้านต่างประเทศปูตินสนับสนุนประธานาธิบดีจอร์จดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) แห่งสหรัฐอเมริกาในการต่อต้านการก่อการร้ายรวมทั้งการทำสงครามในอัฟกานิสถานเพื่อตามจับอุซามะห์บิน ลาดิน (Usama bin Laden) ผู้นำองค์การก่อการร้ายที่มีเครือข่ายทั่วโลกรัสเซียจึงเริ่มมีบทบาทในวงการเมืองโลกอีกครั้งหนึ่ง และพยายามสร้างความร่วมมือกับยุโรปมากขึ้น โดยสนับสนุนการขยายสมาชิกของสหภาพยุโรปตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับจีนและอินเดียใน ค.ศ. ๒๐๐๑ ปูตินประกาศยุติข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเก็บรักษาศพของเลนินซึ่งประชาชนจำนวนมากต้องการให้นำไปฝังด้วยการให้ เก็บศพไว้ ต่อไปเพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ของประเทศในช่วงการปกครองสังคมนิยมระหว่าง ค.ศ. ๒๐๐๒-๒๐๐๓ ปู ตินสนับสนุนให้องค์การสหประชาชาติ (United Nations) มีบทบาทมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาในประเทศอิรักและมีส่วนเข้าร่วมรักษาสันติภาพและฟื้นฟูอิรักร่วมกับประเทศตะวันตกอื่น ๆ เขาจึงได้รับการยกย่องอย่างมากว่าเป็นนักการเมืองดีเด่นของรัสเซียและได้รับความนิยมจากประชาชนในความสำเร็จของการสร้างรัสเซียให้มีเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจรวมทั้งการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ปูตินจึงได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ ๒ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๒๐๐๔ และชาวรัสเซียส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่าเขาจะนำประเทศไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่ดีขึ้นในทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ นี้.
     

ชื่อทางการ
สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation)
เมืองหลวง
มอสโก (Moscow)
เมืองสำคัญ
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (St. Petersburg) โนโวซีบีสค์ (Novosibirsk) นิจนีย์นอฟโกรอด (Nizhny Novgorod) เยคาเตรินบุร์ก (Yekaterinburg) ซามารา (Samara) และคาซาน (Kazan)
ระบอบการปกครอง
สหพันธรัฐ
ประมุขของประเทศ
ประธานาธิบดี
เนื้อที่
๑๗,๐๗๕,๒๐๐ ตารางกิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ : มหาสมุทรอาร์กติก ทิศตะวันออก : มหาสมุทรแปซิฟิก ทิศใต้ : ประเทศจีน มองโกเลีย คาซัคสถานอาเซอร์ไบจานและจอร์เจียทิศตะวันตก : ทะเลดำ ประเทศยูเครน เบลารุส ลัตเวีย เอสโตเนีย ฟินแลนด์ และนอร์เวย์
จำนวนประชากร
๑๔๑,๓๗๗,๗๕๒ คน (ค.ศ. ๒๐๐๗)
เชื้อชาติของประชากร
รัสเซียร้อยละ ๗๙.๘ ตาตาร์ร้อยละ ๓.๘ ยูเครนร้อยละ ๒ และอื่น ๆ ร้อยละ ๑๔.๔
ภาษา
รัสเซีย
ศาสนา
คริสต์นิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ร้อยละ ๒๐ อิสลามร้อยละ ๑๕ คริสต์นิกายอื่น ๆ ร้อยละ ๒
เงินตรา
รูเบิล
มัลติมีเดียประกอบ
-
ผู้เขียนคำอธิบาย
สัญชัย สุวังบุตร และ อนันต์ชัย เลาหะพันธุ
แหล่งอ้างอิง
สารานุกรมทวีปยุโรป